ตี๋น้อยแห่งบ่อทอง

ตี๋น้อยแห่งบ่อทอง
เด็กคนนี้น่ารักที่สุดในจักรวาล

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ภาพวาดที่แพงที่สุดในโลกมนุษย์ตลอดกาล

ภาพวาดที่แพงที่สุดในโลกมนุษย์ตลอดกาล


อันดับ10 ชื่อภาพ Garçon à la pipe 

วาดโดย Pablo Picasso มูลค่า 104.2 ล้านเหรียญ (3444.9 ล้านบาท)

6

Pablo Picasso
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประวัติ  Pablo Picasso


ปีกัสโซเป็นชาวสเปนเกิดเมื่อปี 1881 ที่เมืองมาลากาทางภาคใต้ของประเทศสเปน มีชื่อเต็มยาวเหยียด 23 คำ 103 ตัวอักษร “Pablo Diego José Francisco de Paula Juan Nepomuceno María de los Remedios Cipriano de la Santísima Trinidad Martyr Patricio Clito Ruíz y Picasso” พ่อของเขาเป็นครูสอนศิลปะผู้เชี่ยวชาญการวาดรูปนก ปีกัสโซวาดรูปเป็นก่อนที่จะพูดได้ และเริ่มส่งสัญญาณการเป็นศิลปินระดับโลกด้วยการพูดคำว่า “piz, piz” ที่มาจากคำว่า “lápiz” (ลาปิซ) ในภาษาสเปนที่แปลว่าดินสอเป็นคำแรก แทนที่จะพูดคำว่า “แม่” เหมือนเด็กทั่วไป
พรสวรรค์ด้านศิลปะของปีกัสโซส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการได้เห็นพ่อของเขาเขียนภาพตั้งแต่เล็กจนโต เมื่ออายุได้ 7 ขวบพ่อเริ่มสอนการวาดรูปและระบายสีน้ำมันให้กับเขา เพียง 2 ปีหลังจากนั้นปีกัสโซก็เขียนภาพสีน้ำมันสำเร็จเป็นภาพแรกชื่อภาพ The Picador พออายุ 13 ปีเขาสร้างความตื่นดะลึงให้กับพ่อเมื่อได้ระบายสีภาพนกพิราบที่พ่อสเก็ตช์ค้างไว้ยังไม่เสร็จ พ่อพบว่าลูกชายมีฝีมือก้าวล้ำหน้าตัวเองไปมากจนสาบานว่าจะไม่เขียนภาพอีกต่อไป อีก 2 ปีต่อมาปีกัสโซได้เขียนภาพสำคัญชิ้นแรกของเขาชื่อภาพ First Communion ในวัยเพียง 15 ปี
อัจฉริยะย่อมมีวิถีการเรียนที่แตกต่าง
ปี 1891 ครอบครัวย้ายไปอยู่ที่เมืองโครันนา อยู่ได้ 4 ปีก็ย้ายไปอยู่ที่เมืองบาร์เซโลนาหลังจากน้องสาววัย 7 ขวบของปีกัสโซเสียชีวิตด้วยโรคคอตีบ พ่อส่งเสริมและผลักดันให้เขาเรียนด้านศิลปะอย่างเต็มที่ ส่งปีกัสโซสอบเข้าเรียนศิลปะชั้นสูงที่โรงเรียนศิลปะในบาร์เซโลนาซึ่งคราวนั้นเป็นโจทย์การเขียนภาพผู้หญิงเปลือยโดยให้เวลา 1 เดือน แต่ปีกัสโซใช้เวลาเพียง 1 วัน และได้รับอนุมัติให้เข้าเรียนด้วยวัยแค่ 13 ปี พ่อยังเช่าห้องใกล้บ้านให้เขาใช้เป็นสตูดิโอเขียนภาพส่วนตัว และคอยติดตามความก้าวหน้าอย่างใกล้ชิด
พออายุได้ 16 ปีพ่อจึงส่งปีกัสโซไปเรียนต่อที่โรงเรียนศิลปะที่ดีที่สุดของประเทศในกรุงมาดริด แต่หลังจากลงทะเบียนเรียนได้ไม่นานศิลปินหนุ่มน้อยผู้มีแนวคิดทันสมัยก็เลิกเข้าห้องเรียน เพราะไม่ชอบการเรียนการสอนตามกรอบแบบเก่าที่ไม่ค่อยเน้นความคิดสร้างสรรค์ และมาดริดมีอะไรที่เขาสนใจมากกว่านั่นคือพิพิธภัณฑ์ปราโดซึ่งเป็นแหล่งรวมภาพเขียนชั้นยอดของศิลปินชั้นนำทั้งของ Diego Velázquez, Francisco Goya, Francisco Zurbarán และที่ปีกัสโซชื่นชอบมากเป็นพิเศษคือผลงานของ El Greco ซึ่งได้สะท้อนออกมาในผลงานของเขาในภายหลัง
สร้างผลงานและชื่อเสียงที่ปารีส
ปีกัสโซเดินทางไปที่กรุงปารีสซึ่งเป็นเมืองหลวงแห่งศิลปะในยุคนั้นเป็นครั้งแรกในปี 1990 เขาเข้าชมพิพิธภัณฑ์ทุกแห่ง ศึกษาผลงานของศิลปินดังมากมายทั้ง Delacroix, Toulouse-Lautrec, Vincent van Gogh, Gauguin และคนอื่นๆ ปีกัสโซยังสนใจในศิลปะอียิปต์ ประติมากรรมกอธิค ภาพเขียนญี่ปุ่น เขาสนใจในงานศิลปะเกือบทุกอย่าง ปีกัสโซมาที่ปารีสอีกหลายครั้ง จนในที่สุดได้ย้ายมาพักอาศัยอย่างถาวรในปี 1904
ปีกัสโซเกือบมีชื่อกระฉ่อนโลกด้วยภาพเขียนโมนาลิซา หลังจากมาอยู่ที่ปารีสได้ไม่นานปีกัสโซตั้งแก๊ง La Banda Picasso ร่วมกับเพื่อนสนิท Guillaume Apollinaire และ Max Jacobs แก๊งนี้จะมาสุมหัวคุยกันเรื่องงานศิลปะเป็นประจำ Apollinaire มีเลขาชื่อ Géry Pieret เป็นศิลปินไส้แห้งที่มีพฤติกรรมเป็นหัวขโมย Pieret รู้ว่าปีกัสโซชื่นชอบรูปปั้นศิลปะไอบีเรียจึงแอบขโมยจากพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์มาขายให้เขา พอภาพโมนาลิซาหายไปจากพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ในเดือนสิงหาคม ปี 1911 Pieret จึงเป็นผู้ต้องสงสัยรายแรกๆ แต่เขาหลบออกไปจากปารีสเสียก่อน ตำรวจจึงไปจับ ตัว Apollinaire ผู้เป็นนายจ้างมาสอบสวน และตั้งข้อสงสัยว่าแก๊ง La Banda Picasso อาจมีส่วนในการขโมยจึงจับปีกัสโซมาสอบสวนด้วย Apollinaire และปีกัสโซนอนในคุกอยู่หลายสัปดาห์ก่อนที่จะถูกปล่อยตัวออกมาเพราะตำรวจไม่สามารถหาหลักฐานมาเชื่อมโยงได้
ที่ปารีสปีกัสโซได้รู้จักกับศิลปินชั้นนำหลายคนที่ต่อมาได้กลายเป็นทั้งเพื่อนและคู่แข่ง รวมทั้งร่วมกันช่วยพัฒนาแนวทางในการสร้างศิลปะสมัยใหม่ โดยเฉพาะ Henri Matisse และ Georges Braque ปีกัสโซปักหลักพักอาศัยอยู่ในฝรั่งเศสเรื่อยมาไม่เคยกลับไปอยู่ที่สเปนอีกเลย นอกจากกลับไปเยี่ยมเป็นครั้งคราว รวมทั้งตอนเกิดสงครามโลกครั้งที่สองที่นาซีเข้ายึดครองฝรั่งเศสและเขาถูกสั่งห้ามแสดงผลงาน
 
สร้างสรรค์ศิลปะหลากสไตล์
ผลงานของปีกัสโซมีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงตามห้วงเวลาในช่วงชีวิตและแนวคิดในการสร้างสรรค์ ความกล้าคิดกล้าทำกล้านำเสนอในสิ่งใหม่ทำให้เขาเป็นผู้นำของศิลปะสมัยใหม่ที่ได้รับการยอมรับและมีอิทธิพลต่อวงการศิลปะตลอดมา ปีกัสโซมีผลงานหลายช่วงหลายยุคที่เปลี่ยนแปลงแตกต่างไปโดยสิ้นเชิง หากมิใช่อัจฉริยะผู้เปี่ยมพรสวรรค์คงไม่สามารถสร้างสรรค์ศิลปะหลากหลายสไตล์อย่างเขาได้
ยุคสีน้ำเงิน (Blue Period: 1901–1904)
ผลงานช่วงนี้ใช้สีฟ้ากับฟ้าอมเขียวเป็นหลัก ภาพออกมาในโทนหม่นหมองเศร้าซึม การใช้สีและเรื่องราวปีกัสโซได้รับอิทธิพลจากการเดินทางผ่านประเทศสเปนและการฆ่าตัวตายของเพื่อนที่ชื่อ Carlos Casagemas ภาพที่โดดเด่นในยุคนี้ได้แก่ The Old Guitarist, La Vie และ Absinthe Drinker
ยุคสีชมพู (Rose Period: 1904–1906)
ผลงานช่วงปี 1904–1906 ภาพจะมีสีสันสดใสมากขึ้นด้วยสีส้มและสีชมพู มักจะมีลายข้าวหลามตัดและนักแสดงละครสัตว์เป็นส่วนประกอบ ภาพเด่นยุคนี้คือ Boy with a Pipe, Family of Saltimbanques และ Acrobat and Young Harlequin
ยุคอิทธิพลแอฟริกัน (African Influence: 1907–1909)
ปี 1907 ปีกัสโซได้เปลี่ยนสไตล์ด้วยการเขียนภาพ Les Demoiselles d’Avignon ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากประติมากรรมไอบีเรียและอิทธิพลของศิลปะแอฟริกัน เขาใช้เวลาในการเขียนภาพนี้มากกว่า 1 ปี ปฏิกิริยาของผู้คนเมื่อแรกเห็นภาพนี้คือช็อก Matisse รับไม่ได้โกรธจนเกือบคลั่ง Braque บอกว่าเหมือนเอาน้ำมันมาให้ดื่ม แต่ภาพนี้นับเป็นก้าวแรกที่สำคัญต่อการพัฒนาไปสู่ศิลปะคิวบิสม์ในยุคต่อมา ผลงานอื่นที่สำคัญในยุคนี้ได้แก่ Nude with Raised Arms และ Three Women
ยุคคิวบิสม์ (Cubism: 1909–1917)
ระหว่างปี 1909 – 1912 ปีกัสโซกับ Braque ได้ร่วมกันพัฒนาการเขียนภาพแบบคิวบิสม์หรือบาศกนิยม โดยการแยกวัตถุเป็นชิ้นเล็กๆ วิเคราะห์ และประกอบกลับขึ้นมาใหม่ในแง่มุมต่างๆซึ่งไม่ใช่เป็นแค่งานสามมิติ แต่มีมิติที่สี่เข้ามาซึ่งได้แก่มิติของเวลาที่สัมพันธ์กับการรับรู้ของมนุษย์ ผลงานของทั้งสองเรียกว่า Analytic Cubism (บาศกนิยมแบบวิเคราะห์) ช่วงต่อมาระหว่างปี 1912 – 1917 ปีกัสโซได้พัฒนาผลงานเพิ่มเติมเขียนภาพที่เป็นวัตถุรูปทรงเรขาคณิตและใช้วัสดุง่ายๆอย่างเช่น ท่อ กีตาร์ หรือแก้วน้ำมาเป็นส่วนประกอบ เป็นแนวทางที่เรียกว่า Synthetic Cubism (บาศกนิยมแบบสังเคราะห์) บางคนเรียกทั้งสองช่วงของการพัฒนานี้ว่า Crystal Period ผลงานเด่นในยุคนี้ได้แก่ Three Musicians, Girl with a Mandolin (Fanny Tellier) และ Portrait of Ambroise Vollard ปี 1917 ปีกัสโซได้มีส่วนร่วมในการออกแบบฉากและเครื่องแต่งกายของการแสดงบัลเลต์ชุด Parade ภาพ Rideau pour le ballet “Parade” ที่ใช้เป็นฉากในการแสดงเป็นภาพเขียนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดภาพหนึ่งของปีกัสโซ
ยุคคลาสสิกใหม่ (Neoclassicism: 1918–1925)
หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ปีกัสโซที่ได้มีโอกาสไปเยือนอิตาลีในปี 2017 และได้เปลี่ยนแนวการเขียนภาพอีกครั้งหลุดออกไปจากแนวคิวบิสม์โดยสิ้นเชิง กลับมาสู่การเขียนแบบเหมือนจริงกลายเป็นสไตล์คลาสสิกใหม่ซึ่งมีส่วนคล้ายกับงานของ Raphael และ Ingres ผลงานที่โดดเด่นในยุคนี้คือภาพ Olga in an Armchair, Pierrot และ Portrait of Paul Picasso as a Child
ยุคเหนือจริง (Surrealism: 1925–1936)
ปีกัสโซเข้าสู่ยุคเหนือจริงด้วยภาพ The Dance ในปี 1925 เขาพัฒนาสไตล์การเขียนภาพแนวเหนือจริงในแบบของตัวเอง มีการสื่อความหมายผ่านสัญลักษณ์ที่ซ่อนอยู่ในภาพ ผู้ชมต้องศึกษาและตีความจึงจะเข้าถึงสิ่งที่ปีกัสโซต้องการสื่อ ภาพเขียนในยุคนี้มีหลายภาพที่มีราคาแพงเป็นอันดับต้นๆของโลก ภาพเด่นในยุคนี้คือภาพ Nude, Green Leaves and Bust, The Dream และ Girl before a Mirror
ยุคสงคราม (War in Spain and World War II: 1937-1945)
ปี 1937 ระหว่างเกิดสงครามกลางเมืองสเปนซึ่งเป็นตัวเร่งให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เมือง Guernica โดนเยอรมันถล่มด้วยระเบิดทางอากาศพังยับเยินมีคนตายเป็นพันคน หลังเหตุการณ์ปีกัสโซได้เขียนภาพที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของเขา ‘Guernica’ ซึ่งนำเสนอภาพสัญลักษณ์ที่สะท้อนความโหดร้ายและความเจ็บปวดทุกข์ทรมานอันเป็นผลพวงจากสงคราม มีเรื่องเล่าว่าวันหนึ่งทหารนาซีไปหาปีกัสโซที่บ้านพอเห็นภาพถ่ายของ Guernica จึงถามเขาว่า “คุณเป็นคนทำมันใช่ไหม?” ปิกัสโซตอบว่า “ผมไม่ได้ทำ พวกคุณต่างหากที่เป็นคนทำ” นอกจาก Guernica ในยุคนี้ยังมีภาพที่โดดเด่นคือภาพ The Weeping Woman และ Night Fishing at Antibes
ยุคหลังถึงปีสุดท้าย (Later Works to Final Years: 1946–1973)
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ปีกัสโซได้เขียนภาพที่สื่อถึงการเรียกร้องสันติภาพมากมายในหลายรูปแบบทั้งภาพเขียน โปสเตอร์ ภาพฝาผนัง และยังคงเขียนภาพของผู้หญิงที่มีความสัมพันธ์กับเขาเหมือนเช่นที่ทำมาตลอดชีวิต รวมทั้งเขียนภาพจากต้นแบบของศิลปินที่เขาชื่นชอบหลายคนในสไตล์ของตัวเอง ช่วงหลังปีกัสโซหันไปทำงานประติมากรรมจนได้แสดงผลงานในนิทรรศการประติมากรรมนานาชาติ ปี 1967 ปีกัสโซได้สร้างประติมากรรมประกอบขึ้นรูปสไตล์คิวบิสม์ขนาดใหญ่สูง 15 เมตรในเมืองชิคาโกที่กลายเป็นแลนด์มาร์คสำคัญของเมืองรู้จักกันในชื่อ Chicago Picasso จัดเป็นผลงานเด่นอีกชิ้นหนึ่งของเขา ส่วนภาพเขียนในยุคนี้ที่โดดเด่นได้แก่ภาพ Les Femmes d’Alger, Massacre in Korea และ Jacqueline with Flowers
ศิลปินดังกับพิราบขาว
ปีกัสโซรักและผูกพันกับนกพิราบมาตลอดชีวิต พ่อของเขาเลี้ยงนกพิราบและเป็นผู้เชี่ยวชาญในการเขียนรูปนกพิราบด้วย ปีกัสโซสืบทอดสองสิ่งนี้ต่อจากพ่อ เขาตั้งชื่อน้องสาวว่า Paloma ซึ่งหมายถึงนกพิราบในภาษาสเปน ปีกัสโซเขียนภาพนกพิราบตั้งแต่เด็กจนแก่ ปี 1949 ภาพ Dove of Peace ที่เขียนจากนกพิราบที่ Matisse เพื่อนรักและคู่แข่งคนสำคัญมอบให้ได้รับเลือกให้เป็นสัญลักษณ์ของการประชุมสันติภาพนานาชาติครั้งแรกในกรุงปารีสในปีเดียวกัน ปีกัสโซยังได้เขียนภาพ Dove of Peace ในอีกหลายเวอร์ชั่นซึ่งล้วนแต่ได้รับความนิยมและชื่นชอบจากผู้คนทั่วโลก และกลายเป็นหนึ่งในภาพที่มีอิทธิพลมากที่สุดในชีวิตของเขา ด้านล่างเป็นส่วนหนึ่งของภาพที่เกี่ยวกับนกพิราบจากฝีมือของปีกัสโซ
ศิลปินฉาวกับสาวสวย
ปีกัสโซเป็นเพลย์บอยจอมเจ้าชู้มีสัมพันธ์กับผู้หญิงทั้งที่เปิดเผยและไม่เปิดเผยนับสิบคน ดูเหมือนว่าเขาเป็นคนที่ขาดผู้หญิงไม่ได้เลยและเรียกได้ว่าใช้ผู้หญิงเปลืองมาก เป็นที่น่าสังเกตว่าไม่ว่าตัวเขาจะมีอายุเท่าใดเขาจะเลือกคบกับผู้หญิงอายุไม่ถึง 30 ปีเท่านั้น ผู้หญิงเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญยิ่งต่อผลงานของปีกัสโซ เขาเขียนภาพของผู้หญิงของเขาแต่ละคนด้วยวิธีการที่แตกต่างกันออกไปตามสไตล์ที่เขาชื่นชอบในช่วงเวลาที่คบหากัน ต่อไปนี้เป็นรายชื่อของภรรยาและชู้รักของปีกัสโซเท่าที่ทราบกัน
  1. Fernande Olivier แฟนคนแรกคบกันตอนทั้งคู่อายุ 23 ปี เธอคือผู้ที่เขาใช้เป็นแบบในการเขียนภาพ Les Demoiselles d’Avignon และอีกหลายภาพ (คบกันระหว่างปี 1904 – 1912)
  2. Marcelle Humbert AKA Eva Gouel เป็นแฟนกันตอนเธออายุ 27 ปี ส่วนเขา 31 ปี เธอเป็นแรงบันดาลใจในผลงานของเขาหลายชิ้นรวมทั้งภาพ Guitar (I love Eva) (คบกันระหว่างปี 1912 – 1915)
  3. Gaby Lespinasse มีสัมพันธ์กันตอนที่เขาอายุ 34 ปี (คบกันระหว่างปี 1915 – 1916)
  4. Olga Khokhlova เป็นภรรยาคนแรกของปีกัสโซ เจอกันตอนเธออายุ 26 ปี ส่วนเขา 36 ปี ใบหน้าของ Olga ปรากฏอยู่ในผลงานของเขามากมาย หนึ่งในนั้นคือภาพ Olga in an Armchair (คบกันระหว่างปี 1917 – 1927)
  5. Marie-Thérèse Walter คบกันตอนเธออายุแค่ 17 ปี ส่วนเขา 46 ปี เธอเป็นอีกคนที่เป็นแรงขับเคลื่อนในการสร้างผลงาน มีภาพจากการใช้เธอเป็นแบบมากมาย รวมทั้งภาพ Nude, Green Leaves and Bust, The Dream และ Girl before a Mirror (คบกันระหว่างปี 1927 – 1936)
  6. Dora Maar เป็นแฟนกันตอนเธออายุ 29 ปี ส่วนเขา 55 ปี เขาใช้เธอเป็นแบบในการเขียนภาพในหลากหลายอารมณ์ ใบหน้าของผู้หญิงในภาพ The Weeping Woman เป็นของเธอผู้นี้เอง (คบกันระหว่างปี 1936 – 1944)
  7. Françoise Gilot คบกันตอนเธออายุ 21 ปี ส่วนเขา 61 ปี ปีกัสโซเขียนภาพใบหน้าของเธอไว้มากมาย ที่คุ้นเคยกันเป็นพิเศษคือภาพ Portrait of Françoise ที่เขียนบนกระดาษด้วยดินสอ (คบกันระหว่างปี 1943 – 1953)
  8. Geneviève Laporte เป็นแฟนกันตอนเธออายุ 24 ปี ส่วนเขา 70 ปีแล้ว (1951 – 1953)
  9. Jacqueline Roque เป็นภรรยาคนที่สองและเป็นแฟนคนสุดท้าย (เท่าที่ทราบ) คบกันตอนเธออายุ 27 ปี ส่วนเขา 79 ปี เธอเป็นอีกคนที่เขาใช้เป็นแบบในภาพเขียนจำนวนมาก ภาพผู้หญิงในช่วงทศวรรษ 1950s เป็นภาพของเธอผู้นี้เกือบทั้งนั้น ภาพ Jacqueline with Flowers ก็เป็นหนึ่งในนั้น (คบกันระหว่างปี 1953 – 1973)
ศิลปินผู้ประสบความสำเร็จสูงสุด
ด้วยผลงานชั้นยอดจากพรสวรรค์และความคิดสร้างสรรค์ที่โดดเด่นเหนือใครในหลากหลายสไตล์ ทำให้ผลงานของปิกัสโซเป็นที่ต้องการและซื้อขายกันในราคาแพงระยับ ภาพเขียนของเขามากมายหลายชิ้นมีราคาติดอันดับต้นๆของโลก ผู้คนต่างหาโอกาสไปชมผลงานของปิกัสโซที่จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ชั้นนำหลายแห่งทั่วโลก รวมทั้งที่พิพิธภัณฑ์ปีกัสโซที่ฝรั่งเศสและสเปน
ปีกัสโซได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินเอกของโลกตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ มีโอกาสได้ชื่นชมกับความสำเร็จของตัวเอง ได้ใช้ชีวิตที่ร่ำรวยหรูหราไม่ได้เป็นศิลปินไส้แห้งแบบคนอื่น ปีกัสโซเสียชีวิตในปี 1973 ด้วยวัย 91 ปี ฝากผลงานอันทรงคุณค่าให้โลกได้ชื่นชมด้วยภาพเขียนกว่า 13,000 ภาพและงานศิลปะอื่นอีกมากมาย สมกับเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินที่มีพรสวรรค์ในการสร้างสรรค์มากที่สุดในศตวรรษที่ 20 เขาเป็นหนึ่งในศิลปินที่ประสบความสำเร็จสูงที่สุดในประวัติศาสตร์
$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$



อันดับ 9 ชื่อภาพ Nude, Green Leaves and Bust

วาดโดย Pablo Picasso มุลค่า 106.5 ล้านเหรียญ (3520.9 ล้านบาท)


2


$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$


อันดับ 8  ชื่อภาพ The Scream 

วาดโดย Edvard Munch ถูกประมูลในมุลค่า 119.9 ล้านเหรียญ(3963.9ล้านบาทในปี 2012

8

Edvard Munch
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประวัติEdvard Munch


เอ็ดเวิร์ด มุงค์ (นอร์เวย์: Edvard Munch; 12 ธันวาคม ค.ศ. 1863 – 23 มกราคม ค.ศ. 1944) ศิลปินชาวนอร์เวย์ที่โด่งดังมากที่สุดคนหนึ่ง เป็นทั้งจิตรกรและช่างภาพพิมพ์ไม้ หินและเอ็ชชิ่ง เขาเป็นหนึ่งในศิลปินลัทธิสัญลักษณ์นิยม และได้รับการกย่องให้เป็นคนสำคัญในการพัฒนาลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ (Expressionism) ในเยอรมันและยุโรปกลาง ผลงานของมุงค์สะท้อนความทุกข์ยากและความขัดแย้งต่าง ๆ ในชีวิต ความทรงจำที่โหดร้ายในวัยเด็กและแผลในจิตใจทำให้เขาแสดงทัศนคติเรื่องความรัก สุราและความเลวร้ายของชีวิตลงในผลงาน ภาพของเขามักแสดงปัญหาสังคมและความกังวลของมนุษย์

เอ็ดเวิร์ด มุงค์โด่งดังในเยอรมนีทันทีที่ผลงานของเขาร่วมแสดงในนิทรรศการ Verein Berliner Künstler ในปี ค.ศ. 1892 เพราะภาพของเขาถูกวิพากษ์วิจารณ์และถูกคัดค้าน อย่างไรก็ตามเขาใช้ชีวิตและทำงานในประเทศเยอรมนีเป็นเวลาหลายปีเขาจึงมีชื่อเสียงและอิทธิพลเป็นอย่างมากในวงการศิลปินชาวเยอรมัน
The Scream  เป็นหนึ่งในภาพวาดที่มีชื่อเสียงของโลก ถูกนำมาล้อเลียน ในภาพยนตร์ หรือการ์ตูนต่างๆมากมาย โดยภาพนี้เป็นภาพของชายคนหนึ่ง ซึ่งกำลังทำท่ากรีดร้องและเอามือทั้ง 2 ข้างป้องหู ผลงานนี้ไม่ได้มีเพียงชิ้นเดียว เพราะมันเป็น 1 ใน 4  ของผลงานชุด The Scream โดยงานชิ้นดังที่สุดเป็นเพียงชิ้นเดียวที่อยู่ภายใต้การเก็บของเอกชน ภาพวาดนี้ เขียนขึ้นเมื่อปี ค.ส. 1895 เป็นภาพ The Scream เพียง Version เดียวที่ไม่ได้ถูกเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ของประเทศNorway  ภาพนี้มีชื่อเสียงโด่งดังและรู้จักกันอย่างกว้างขวางในวงการศิลปะทั่วโลก อันเนื่องมาจากอารมณ์อันหวาดกลัวที่สามารถสื่อออกมาได้อย่างชัดเจนจากชายในภาพ รวมทั้งมีการการใช้สีสันอันสะท้อนถึงการดำรงอยู่ของความกังวลบวกกับความท้อแท้สิ้นหวัง The Scream  เป็นผลงานมีสีสันสดใสอีกทั้งยังคงมีชีวิตชีวาที่สุด นอกจากนี้ยังเป็นเพียงงานชิ้นเดียวที่ Munch ได้เขียนกลอนลงไป เพื่อเป็นการอธิบายถึงแรงบันดาลใจในการรังสรรค์ผลงานชิ้นนี้ โดย Munch กล่าวอธิบายไว้ว่า รู้สึกสั่นเทาและวิตกกังวล เขารู้สึกถึงการกรีดร้องอันยิ่งใหญ่ในธรรมชาติ
ประวัติของภาพวาด The Scream 
ในปี 1893  ตอนเย็นของวันหนึ่ง เมื่อดวงอาทิตย์ใกล้ลาลับขอบฟ้า Edvard Munch กำลังเดินเล่นอยู่กับเพื่อนของเขาอีก  2 คน ท้องฟ้าก็ได้เป็นสีเลือด มันทำให้เขารู้สึกหมดแรง จนยืนไม่ไหวต้องอาศัยพิงรั้วข้างทาง บนท้องฟ้าเต็มไปด้วยสีแดงฉานดั่งเปลวเพลิง แต่เพื่อนของเขาก็ยังเดินกันต่อไป ในขณะที่เขากำลังยืนตัวสั่นด้วยความกังวลใจ และทันใดนั้นเองเขาก็รู้สึกถึงเสียงกรีดร้องของธรรมชาติบาดลึกไปถึงจิตวิญญาณ  จนก่อเกิดแรงบันดาลใจอันมหาศาล ให้เขาได้ถ่ายทอดความรู้สึกออกมาเป็นภาพวาดแนว  Expressionist ซึ่งเขาได้ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกมาใส่ในรูปบันลือโลกนี้

จากการวิเคราะห์คนในภาพคงจะเป็น Edvard ส่วนท่าทางเป็นอาการของคนวิตกจริต สาเหตุมาจากเสียงรบกวน ซึ่งไม่มีคนอื่นได้ยิน มีแต่เขาเท่านั้นที่รับพลังงานนั้นได้ ในขณะที่เพื่อนๆซึ่งไม่ได้ยินอะไร กลับเดินห่างออกไปเรื่อยๆ ทิ้งให้เขาในสภาพตกใจสุดขีดยืนอยู่อย่างเดียวดาย ส่วนสีของท้องฟ้านั้นอาจเป็นเรื่องจริง ที่  Munch เห็นกับตา และมโนเสียงความน่ากลัวเอาเองได้ เนื่องจากในช่วงเดียวกันนั้น ภูเขาไฟ ณ เกาะ Krakatoa ประเทศอินโดนีเซีย ได้เกิดการระเบิดครั้งใหญ่ขึ้น ทำให้เถ้าถ่านภูเขาไฟพวยพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า สร้างผลกระทบให้บรรยากาศไปทั่วทั้งโลก หรือความจริงแล้ว Edvard Munch อาจมีหูวิเศษ สามารถได้ยินเสียงระเบิดจากดินแดนอันไกลโพ้น จนกลายมาเป็นแรงบันดาลใจให้วาดภาพ The Scream

$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$

อันดับ 7  ชื่อภาพ Three studies of Lucian Freud

วาดโดย Francis Bacon ศิลปินชาวอังกฤษในยุคสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 2512 เขาวาดภาพของเพื่อนตนเอง “ลูเซีย ฟรอยด์” ภาพถูกประมูลไปในปี 2556 ในราคา 145 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (4793.7ล้านบาท)


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Three studies of Lucian Freud

Francis Bacon

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Francis Bacon

ฟรานซิส เบคอน เกิดวันที่ 22มกราคม ค.ศ.1561 ที่ยอร์ค เฮาร์ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เกิดในตระกูลผู้ดีมีตำแหน่งทางการเมือง เข้าศึกษาที่ Trinity Collegeแห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เมื่ออายุ 12 ปี เรียนอยู่ได้ ปี แล้วออกไปเพราะไม่ชอบวิธีการเรียนและหนังสือเรียน นอกจากนี้ยังได้แสดงความคิดที่เป็นปฏิปักษ์ต่ออริสโตเติล และปรัชญาอัสมาจารย์ อีกด้วย    
เบคอนเป็นทั้งนักวรรณคดีและนักปกครอง และถือว่าเป็นนักการศึกษาในสมัยนี้ ด้วยเหตุที่ว่า เบคอนมีลักษณะพิเศษอยู่  ประการคือ  เป็นผู้นำแนวความคิดแนวผัสสะสัจนิยม  (Sense Realism)  และเป็นผู้สร้างตำราในการแสวงหาความรู้โดยวิธีอุปมาน (Inductive)  อันเป็นวิธีการให้การศึกษาที่สำคัญวิธีหนึ่งนอกจากนี้แล้วยังจัดได้ว่าเป็นผู้ต้นคิดสารานุกรม (Encyclopeadia)  และปรัชญาอีกด้วย
          ด้วยลักษณะพิเศษดังกล่าว ทำให้ ฟรานซิส เบคอน ได้รับแต่งตั้งให้เป็นหนึ่งในคณะทูตอังกฤษประจำประเทศฝรั่งเศส เมื่ออายุเพียง 16 ปี จากนั้นในปี ค.ศ.1583 ขณะนั้นอายุได้ 23 ปี ก็ได้รับเลือกตั้งเข้าสู่รัฐสภา และได้รับเลือกอีกหลายสมัย
เบคอนเป็นนักการเมืองที่ฉลาดหลักแหลมและมีความคมคายทางการพูดมาก ในปี ค.ศ.1617 เขาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้เก็บรักษาดวงตราสืบแทนบิดา นอกจากนี้ในปี ค.ศ.1618 เขาก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็น อัครมหาเสนาบดี                                                                                      
แต่แล้วจุดหักเหของชีวิตเขาก็เกิดขึ้น เมื่อในปี ค.ศ.1621 เขาได้ถูกกล่าวหาว่ารับสินบนจากคู่ความ โดยเขาพยายามแก้ว่าเป็นเพียงแค่ของกำนัลเท่านั้น แต่สุดท้ายเบคอนก็ถูกจำคุกและถูกปลดออกจากตำแหน่งที่เขาดำรงอยู่อีกด้วย  และในตอนสุดท้าย ฟรานซิส เบคอน ได้เสียชีวิตลงในขณะที่เขากำลังทำการทดลอง ในปี ค.ศ.1626 รวมอายุได้ 65 ปี 

$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$


อันดับ 6  ชื่อภาพ Portrait of Adele Block-Bauer  

วาดโดย Gustav Klimt “กุสตาฟ คลิมต์” จิตรกรชาวออสเตรีย ถูกนาซีเยอรมันยึดไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อมาได้รับการนำมาจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ในกรุงเวียนนาของออสเตรีย ได้ชื่อว่าเป็นโมนาลิซาของออสเตรีย
แต่เมื่อเวลาผ่านไปหลานสาวของเจ้าของภาพเดิมในวัย 80 ปี ก็มาทวงคืน เธอและพิพิธภัณฑ์จึงสู้คดีกันอยู่ในศาล ไปมาสุดท้ายทายาทที่แท้จริงก็ชนะคดี ปัจจุบันภาพเป็นของ “โรนัลด์ ลอเดอร์” มหาเศรษฐีชาวอเมริกันที่ซื้อมาด้วยราคา 158.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (5236.7 ล้านบาท)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กุสตาฟ คลิมต์ ประวัติ

Gustav Klimt
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประวัติGustav Klimt


กุสตาฟ คลิมต์ (Gustav Klimt) จิตรกรและมัณฑนากรผู้ยิ่งใหญ่แห่งออสเตรีย เกิด 14 กรกฎาคม พ.ศ.2405 ที่เมืองบวมการ์เทน (Baumgarten) ใกล้กรุงเวียนนา เข้าเรียนที่โรงเรียนประยุกต์ศิลป์ (School of Applied Art) ซึ่งเป็นสถาบันประยุกต์ศิลป์ที่ทันสมัยที่สุดของออสเตรีย
  เริ่มงานเป็นช่างเขียนภาพฝาผนังภายในอาคารและทำงานศิลปะมาตลอด ในช่วงเวลานั้น ศิลปะแนวใหม่ หรือ อาร์ต นูโว (Art Nouveau ซึ่งเป็นศิลปะรูปแบบหนึ่งที่ใช้งานออกแบบและสถาปัตยกรรมมาผสมผสานกับงานจิตรกรรม ได้รับความนิยมในช่วงทศวรรษที่ 1890 หรือระหว่างปี 2433-2443) กำลังงอกงามในยุโรป ในปี 2440 เขาเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งและเป็นประธานคนแรกของ Wiener Sezession (Vienna Secession) องค์การของศิลปินหัวสมัยใหม่ที่พยายามเคลื่อนไหวเสนอผลงานศิลปะแนวใหม่ที่แหวกออกมาจากกรอบประเพณีการสร้างงานศิลปะแบบเดิมซึ่งควบคุมโดยสมาคมนิทรรศกาลศิลปะของออสเตรีย
  คลิมต์ได้รับแรงบันดาลใจทางศิลปะมาจาก อัลเบรท ดูเรอร์ (Albrecht Durer) จิตกรชาวเยอรมันในยุคกลาง งานศิลปะในยุคกลาง และภาพพิมพ์แกะไม้จากญี่ปุ่น (Ukiyo-e) ผลงานของคลิมต์โดดเด่นด้วยการใช้สีทองและประดับประดาด้วยสีสัน ใช้รูปทรงนามธรรมที่สะท้อนจากความฝันและสะท้อนสัญลักษณ์ทางเพศ บางครั้งก็ใช้เทพธิดาจากเทพนิยายโบราณ มีสีสันกลมกลืนดูอ่อนหวาน แต่ได้แฝงแง่คิดและปรัชญาที่ลึกซึ้ง
  ผลงานของเขายังแสดงให้เห็นถึงจุดเหลื่อมระหว่างศิลปะประยุกต์ที่สร้างเพื่อการตกแต่ง กับงานวิจิตรศิลป์ที่ศิลปินสร้างขึ้นเพื่อเสนอสาระและคุณค่าในตัวงาน ผลงานที่มีชื่อเสียง ได้แก่ The Young Girl, The Kiss, Portrait of Adele Bloch-Bauer I, Danae และ Judith and the Head of Holofernes
ภายหลังจากที่เขาเสียชีวิตในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2461 ผลงานของเขามีราคาพุ่งสูงติดอันดับงานศิลปะที่แพงที่สุดในโลก โดยภาพ Adele Bloch-Bauer I ของเขามีราคาสูงถึง 137.6 ล้านเหรีญสหรัฐฯ แพงอันดับที่ 3 ในโลกรองจากภาพ No. 5, 1948 ของ แจ็คสัน พอลล็อค (Jackson Pollock) และภาพ Woman III ของ วิลเลม เดอ คูนิง (Willem de Kooning)




$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$

อันดับ 5  ชื่อภาพ No.5

ภาพนี้มีขนาด 8x4 ฟุต วาดบนไฟเบอร์บอร์ด เป็นงานนามธรรมของศิลปินแนวนามธรรมชื่อดัง Paul Jackson Pollock “แจ็กสัน พอลล็อก” ชาวอเมริกัน ได้รับการประมูลไปที่ 165.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ( 5468.1 ล้านบาท)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประวัติ แจ็คสัน พอลล็อก No.5

Paul Jackson Pollock
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูป แจ็คสัน พอลล็อก
แจ็คสัน พอลล็อค  ศิลปินแนวนามธรรม ด้วยการละทิ้งรูปทรงตามธรรมชาติ ตัดทอนจนปราศจากรูปหรือบางทีเปลี่ยนรูปทรงเดิมจนจำไม่ได้ งานของพอลล็อคเป็นการหยดสีบนผืนผ้าใบแทนการระบายสีตามปกติ หยดและแนวสีที่ซ้อนกันทำให้เกิดเป็นงานศิลปะ

แจ็กสัน พอลล็อก จิตรกรชาวอเมริกัน เกิดเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2455 ที่เมืองโคดี มลรัฐไวโอมิง เรียนศิลปะที่ Manual Arts High School เมืองลอสแองเจลีส แคลิฟอร์เนีย

จากนั้นย้ายมายังนิวยอร์กเพื่อศึกษาศิลปะกับ โธมัส เบนตัน (Thomas Hart Benton) จิตรกรเขียนภาพฝาผนัง ปี 2488 เขาแต่งงานกับ ลี แครสเนอร์ (Lee Krasner) จิตรกรแนวนามธรรม (Abstract) จากนั้นทั้งสองก็ย้ายมาสร้างสตูดิโอทำงานศิลปะด้วยกันที่ลองไอส์แลนด์ นิวยอร์ก

ในระยะแรกพอลล็อกเขียนภาพแนวนามธรรม แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จมากนัก ด้วยความที่เป็นคนจริงจัง และค่อนข้างเก็บตัว เขาจึงเครียดอยู่เสมอ แต่ก็ได้ภรรยาคอยให้กำลังใจมาตลอด ภายหลังทั้งคู่จึงหลบความวุ่นวายในเมือง ย้ายไปหาความสงบในชนบทและใช้โรงนาเป็นสตูดิโอทำงานศิลปะ

ที่นี่เองที่วันหนึ่ง พอลล็อกค้นพบเทคนิคการเขียนภาพแบบใหม่โดยบังเอิญ ขณะกระป๋องสีล้มลงใส่ภาพที่เขากำลังเขียน ต่อมาเรียกเทคนิคแบบนี้ว่า “กัมมันตจิตรกรรม” (Action Painting) หรือ “เอ็กเพรสชันนิสม์เชิงนามธรรม” (Abstract Expressionist) ซึ่งเป็นการทำงานศิลปะโดยการหยด สาด หรือเทสีลงบนผ้าใบ โดยไม่ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบศิลป์ หรือแบบแผนใด ๆ แต่ปล่อยให้จิตสำนึกเป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะชิ้นนั้น แต่พอลล็อกยืนยันว่าผลงานศิลปะของเขาไม่ได้เกิดจาก “เหตุบังเอิญ” แต่เขาสามารถควบคุมมันได้

ในระยะแรกเขาได้รับอิทธิพลจากศิลปะแนวเหนือจริง (Surrealism) ศิลปะของชาวอเมริกันพื้นเมือง (Indian sandpainting) รวมทั้งตัวอักษรจีน จนในที่สุดก็ค้นพบเทคนิคส่วนตัวโดยผสมผสานความเรียบง่ายเข้ากับศิลปะบริสุทธิ์ ผลงานชิ้นสำคัญคือ “No. 5, 1948” ซึ่งมีราคาสูงถึง 140 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นับเป็นภาพจิตรกรรมที่มีราคาสูงที่สุดในโลก เขาเคยกล่าวไว้ว่า “กระบวนการทำงานศิลปะสำคัญกว่าผลสำเร็จขั้นสุดท้าย”


พอลล็อคเกิดที่รัฐไวโอมิ่ง เมื่อปี 1912 เรียนศิลปะที่ Manual Arts High School ในลอสแองเจลิส ก่อนศึกษาต่อที่สถาบัน Art Students League ในนิวยอร์ค ตลอดชีวิตพอลล็อคพบแต่ความผิดหวัง เขาเป็นคนอารมณ์ร้อน ไวต่อความรู้สึกมาก โดยเฉพาะต่อคำพูดวิพากษ์วิจารณ์ผลงานของเขา เช่นครั้งหนึ่ง จิม สวีนีย์ แสดงความเห็นไว้ในบทความว่าพอลล็อคเป็นคนไม่มีหลักเกณฑ์ พอลล็อคโมโหมาก จึงลงมือเขียนภาพ Search for a Symbol แล้วหิ้วภาพนี้ไปพบสวีนีย์ พร้อมกับพูดว่า “ผมต้องการให้คุณเห็นว่า ภาพที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์เป็นอย่างไร” (ชะวัชชัย ภาติณธุ, ศิลปะศิลปิน หรือศิลปินศิลปะ, โอเดียนสโตร์ 2532, น.78-79)

เพราะนิสัยส่วนตัวเช่นนี้นี่เอง ที่ทำให้พอลล็อคลงมือทำงานอย่างจริงจังเพื่อแสดงตัวตนและลบคำสบประมาท จนเขาได้รับการยกย่องยอมรับว่าเป็นผู้นำขบวนการเขียนภาพแนวเอ็กเพรสชั่นนิสม์นามธรรม (abstract-expressionism) พร้อมกับเป็นต้นแบบสไตล์การเขียนภาพที่เรียกว่า จิตรกรรมแอ๊คชั่น (action painting) ด้วยการสาด เท หยด สลัดสีลงบนผ้าใบขนาดใหญ่ แสดงถึงความเคลื่อนไหวว่องไวและมีพลัง กระทั่งนิตยสารไทม์ให้สมญานามเขาว่า “แจ๊ค เดอะ ดริปเปอร์” (Jack the Dripper)

เรื่องราวของพอลล็อคเคยถูกสร้างเป็นหนังสารคดี 2 ครั้ง ครั้งแรกคือ Jackson Pollock (1987) โดยผู้กำกับ คิม อีแวนส์ อีกเรื่องหนึ่งชื่อ Jackson Pollock : Love and Death on Long Island (1999) โดย เทเรซ่า กริฟฟิธส์ เป็นประวัติชีวิตและผลงาน รวมทั้งภาพการทำงานของพอลล็อค นอกจากนี้ยังมีบทสัมภาษณ์ ลี แครสเนอร์ เพื่อนๆ ศิลปินรุ่นหลัง รวมทั้งแฮร์ริส

สำหรับ Pollock หนังเริ่มต้นในปี 1941 เมื่อพอลล็อค (แฮร์ริส) ตกอยู่ในสภาพย่ำแย่ ติดเหล้างอมแงม อาศัยอยู่กับ แซนดี้ (โรเบิร์ต นอตต์) พี่ชาย จนภรรยาของแซนดี้ไม่พอใจ ต้องพาแซนดี้และแม่ย้ายหนีไป จุดเปลี่ยนของชีวิตพอลล็อคคือการได้พบ ลี แครสเนอร์ (มาร์เซีย เกย์ ฮาร์เดน) จิตรกรหญิงผู้เชื่อมั่นในความสามารถของพอลล็อค แครสเนอร์แต่งงานกับเขาโดยมีข้อตกลงว่าพอลล็อคต้องเลิกดื่มเหล้าและมุ่งมั่นสร้างงานศิลปะ

ด้วยการหนุนหลังของแครสเนอร์ ผลงานของพอลล็อคจึงไปเข้าตา เพ็กกี้ กุกเกนไฮม์ (เอมี่ เมดิแกน) เจ้าของแกลลอรี่ใหญ่แห่งนิวยอร์ค ยอมจัดแสดงผลงานเดี่ยวให้พอลล็อค แม้จะขายภาพเขียนไม่ได้เลย แต่พอลล็อคก็เริ่มเป็นที่สนใจในวงการศิลปะ และเป็นจุดเริ่มต้นให้เขาได้ค้นพบวิธีการสร้างงานรูปแบบใหม่ เมื่อต้องไปวาดผนังบ้านพักของกุกเกนไฮม์เป็นค่าตอบแทนตามสัญญา

หลังจากแต่งงานแล้ว พอลล็อคและแครสเนอร์ย้ายไปอยู่ที่ลอง ไอส์แลนด์ ชนบทอันสงบเงียบห่างไกลผู้คน ที่นี่เองที่พอลล็อคมีเวลาเต็มที่สำหรับทุ่มเทสร้างงานศิลปะ และพัฒนารูปแบบงานของเขาจนกลายเป็นสไตล์เฉพาะตัว เขาเริ่มมีชื่อเสียงเงินทอง มีกิจวัตรประจำวันที่เปลี่ยนไป แต่ความเปลี่ยนแปลงที่ได้รับเหล่านี้กลับทำให้พอลล็อครู้สึกหวั่นไหว ที่สำคัญ...สิ่งที่เขาต้องการที่สุดแต่กลับไม่ได้คือลูก

ตลอดชีวิตช่วงหลัง พอลล็อคจมอยู่กับการดื่มเหล้า อารมณ์หงุดหงิดฉุนเฉียว ไม่สนใจคนรอบข้างแม้กระทั่งแครสเนอร์ เขาหันไปคว้า รูธ (เจนนิเฟอร์ คอนเนลลี่) หญิงสาวอ่อนวัยมาทดแทน กระทั่งเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุรถยนต์ในปี 1956

จากเนื้อหาจะเห็นได้ว่าตัวตนของพอลล็อคก็คล้ายกับศิลปินคนอื่นๆ ที่เราเคยพบเห็นบ่อยครั้งในหนัง เรียกว่าเป็นแบบฉบับของตัวละครที่เป็นศิลปินไม่ว่าจะเป็นตัวละครสมมติหรือมีตัวตนจริงๆ ก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นความอ่อนไหวในจิตใจ และการยึดมั่นถือมั่นในตัวเองทำให้เป็นทุกข์ จนนำพาชีวิตให้ตกต่ำซ้ำเติมชะตากรรมของตน พอลล็อคก็เช่นกัน เขาหันเข้ามาเหล้า ทำร้ายตนเองจนพบจุดจบในที่สุด

แต่ไม่ว่าชีวิตจะเลวร้ายเช่นไร ศักยภาพในตัวศิลปินย่อมต้องแสดงออกมาเสมอ หนังได้จำลองภาพการทำงานของพอลล็อค ตั้งแต่การนั่งนิ่งจ้องมองความว่างเปล่าบนเฟรมภาพ ก่อนลงมือลงสีทั้งด้วยฝีแปรงและเทคนิคการเท สาด หรือสลัดสีอย่างรวดเร็วและรุนแรง ดุจอารมณ์ภายในที่ระเบิดออกมา กระทั่งภาพเสร็จสมบูรณ์ด้วยความรู้สึกที่พอลล็อคเปรียบเทียบว่าเหมือนเสร็จจากการร่วมรัก

พอลล็อคเคยเผยความรู้สึกของเขาถึงการสร้างงานศิลปะไว้เมื่อปี 1947 ว่า “บนพื้นห้อง ผมรู้สึกผ่อนคลายและรู้สึกถึงการเข้าไปใกล้จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของภาพเขียน เริ่มจากการเดินไปรอบๆ บนกรอบภาพ ลงสีจากทั้งสี่ด้าน กระทั่งไปอยู่ในภาพเขียนนั้นจริงๆ” ทุกครั้งที่พอลล็อคเขียนภาพจึงเหมือนกับว่าเขาได้ถอดเอาชีวิตจิตใจลงไปในภาพเขียน เป็นช่วงเวลาที่เขาสามารถควบคุมชีวิตตนเองได้ ต่างจากหลายฉากชีวิตนอกเวลาทำงานที่ใจเขากระเจิดกระเจิงไปจนไร้การควบคุม

การจำลองภาพการทำงานของพอลล็อคในหนังจึงช่วยเน้นย้ำให้เห็นว่าพอลล็อคมีชีวิตชีวาแค่ไหนขณะอยู่ในกรอบภาพ และต่างจากชีวิตนอกกรอบภาพอย่างไร

ย้อนกลับไปที่คำถามของผู้เขียนเกี่ยวกับเหตุผลในการสร้างและการหาคุณค่าของหนังแนวชีวประวัติศิลปิน เรารู้แล้วว่าแฮร์ริสสร้าง Pollock สืบเนื่องมาจากความฝังใจในอดีต ถือเป็นการแสดงความชื่นชมและยกย่องพอลล็อค แต่ในด้านคุณค่าของหนัง ถ้าเปรียบเทียบกับจิตรกรผู้มีชื่อเสียงทั้งรุ่นเก่าและร่วมสมัยหลายต่อหลายคน สำหรับคนที่ไม่ได้สนใจศิลปะโดยตรงแล้ว คงไม่ได้นึกถึงชื่อพอลล็อคเป็นอันดับต้นๆ อย่างแน่นอน

“คุณค่า” ของหนังแนวชีวประวัติอย่าง Pollock จึงไม่ใช่การสะท้อนภาพของศิลปินซึ่งเป็นที่สนใจของผู้ชมทั่วไป แต่เป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงหรือแนะนำให้รู้จักเสียมากกว่า ซึ่งแฮร์ริสก็ทำในจุดนี้ได้ดี เพราะนอกจากผู้ชมจะได้รู้จักพอลล็อคแล้ว ยังได้เห็นวิธีการทำงานศิลปะซึ่งแปลกและแตกต่างจากศิลปินคนอื่นๆ

แต่ถ้าดูเฉพาะเนื้อหา หนังเรื่องนี้ไม่ได้มีความแปลกใหม่หรือแตกต่างจากหนังแนวชีวประวัติเรื่องอื่นๆ ยังไม่ต้องพูดถึงการมองคุณค่าจากมุมกว้างผ่านชีวิตของพอลล็อค ยกตัวอย่างเช่นนิวยอร์คยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือแวดวงศิลปะในยุคนั้น เพราะยากที่จะเห็นอะไรชัดเจนจากหนังที่ให้ตัวละครเป็นตัวดำเนินเรื่องในลักษณะเป็น “ผู้กระทำ” ตลอดเวลาเช่นเรื่องนี้

แจ็คสัน พอลล็อก พอลล็อกไม่เพียงเป็นศิลปินแนวหน้าในสำนักศิลปะที่เรียกกันว่า Abstract Expressionism เขายังเป็นผู้ริเริ่มเทคนิคในการสร้างงานจิตรกรรมแบบใหม่ที่เรียกว่า “drip and splash” รวมทั้งแนวจิตรกรรมในแบบ action painting
แจ็กสัน พอลล็อก ถึงแก่กรรมในอุบัติเหตุทางรถยนต์ ขณะอายุ 44 ปี
$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$

อันดับ 4 ชื่อภาพ  No. 6 (Violet, Green and Red)

ภาพนี้เป็นแนวนามธรรมของศิลปินชาวอเมริกันเชื้อสายยิว-รัสเซีย “มาร์ก รอทโก” ผู้ริเริ่มศิลปะแนว “Abstract Expressionism” ภาพนี้ราคา 186 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (6,200 ล้านบาท) มหาเศรษฐีชาวรัสเซีย “ดิมิทรี ไรโบลอฟเลฟ” เป็นผู้ประมูลได้ 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ No. 6 (Violet, Green and Red)

MARK ROTHKO

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประวัติ มาร์ค รอธโก

มาร์ค โรทโก้ ( Mark Rothko
จิตกร  Color Field, Abstract Expressionism
มีชื่อจริงว่า มาร์กัส โรทโกวิช (Маркус Яковлевич Роткович) เกิดเมื่อวันท่ี 25 กันยายน 1903 ในเมืองดวินส์ก, วิเตปส์ก (Dvinsk, Vitebsk, Russia) จักรวรรดิรัสเซียในขณะนั้น ปัจจุบันเมืองที่เขาเกิดอยู่ในประเทศลัตเวีย  พ่อของชื่อจาคอฟ (Jacob Rothkowitz) มีเชื้อสายยิว เป็นเภสัชกรณ์ และแม่ชื่อแอนน่า (Anna Goldin Rothkowitz) โรทโก้ เป็นลูกชายคนเล็กในพี่น้องทั้งหมดสี่คน พี่ของเขาชื่ออัลเบิร์ต (Albert) มอยเซ่ (Moise) และโซเนีย (Sonia)
1910 พ่อของเขาย้ายมาอยู่ในสหรัฐฯ คนเดียว เพราะต้องการเลี่ยงการถูกเกณฑ์ทหาร โดยไปอาศัยอยู่ในเมืองพอร์ตแลนด์ (Portland, Oregon) และได้ทำงานกับพี่ชายของเขา
1912 อัลเบิร์ตและมอยเซ่  เดินทางมาอยู่กับพ่อในสหรัฐฯ 
1913 แม่, โซเนียและโรทโก้ย้ายตามพ่อมาอยู่ในสหรัฐฯ  แต่ว่าไม่กี่เดือนถัดมาพ่อของเขาก็เสียชีวิต , แม่และลูกๆ จึงต้องช่วยกันออกไปทำงาน โรทโก้นั้นได้เข้าเรียนในโรงเรียนมัธยมลินคอล์นไฮสคูล (Lincoln High School) แต่เขาจะใช้เวลาหลังเลิกเรียนทำงานส่งหนังสือพิมพ์และส่งของ
1921 จบมัธยมจากลินคอล์นไฮสคูล หลังจากนั้นได้เข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยเยล (Yale Univeristy) โดยได้รับทุนการศึกษา
ระหว่างเรียนเขาร่วมกับอาร์รอน (Aaron Director) เพื่อนของเขาตั้งแม็กกาซีน The Yale Saturday Evening Pest
1923 ลาออกจาก ม.เยล ก่อนที่จะสำเร็จการศึกษา เขาเดินทางมาอยู่ในนิวยอร์ค
1924 สมัครเข้าเรียนศิลปะในคลาสของแม็กซ์ เว็บเบอร์ (Max Weber) ที่ลีกนักศึกษาศิลปะแห่งนิวยอร์ค (Art Students League of New York) เขายังได้เรียนวิชากายวิภาคกับจอร์จ บริจแมน (George Bridgman)  ระหว่างอยู่ที่ลีก
หลังจากเรียนจบคอร์สเขาก็เดินทางกลับไปยังพอร์ทแลนด์ 
1925 เข้าทำงานกับบริษัทผลิตละคร ของโจเซฟิน ดิลเลี่ยน (Josephine Dillon)  และยังได้เข้าเรียนคอร์สการแสดงที่ลินคอล์นไฮสคูล ช่วงเวลานี้โรทโก้มีความหลงไหลละครเวที
1925 กลับมายังนิวยอร์ค และ สมัครเข้าเรียนที่โรงเรียนการออกแบบแห่งนิวยอร์ค (New York School of Design) โดยมีอาร์ชิล กอร์กี้ (Arshile Gorky) เป็นครูสอน  และยังได้กลับเข้าเป็นสมาชิกของลีกศิลปะ
1928 ได้นำงานศิลปะของแสดงครั้งแรกร่วมกับ ฮาร์ริส (Lou Harris) และอเวรี (Milton Avery) ที่อ๊อฟ-แกลลอรี่ (Oppoutunity Gallery) 
1929 ได้ทำงานเป็นครูสอนศิลปะให้กับเด็กๆ ที่เซ็นทรัลอคาเดมี่ (Center Academy of the Blooklyn Jewish Center) ในบรู๊คลิน เขาทำงานที่นี่จนถึงปี 1952
1932 ระหว่างเดินทางไปทะเลสาบจอร์จ (Lake George) เขาได้พบกับอีดิธ (Edith Sachar) ซึ่งเป็นดีไซเนอร์ออกแบบเครื่องประดับ ทั้งคู่ได้แต่งงานกันในเดือนพฤศจิกายนในปีนี้
1933 จัดงานแสดงศิลปะของตัวเองแบบเดี่ยวครั้งแรก ที่ Contemporary Arts Gallery
1934 The Ten Who are Nine
1936 เขาเข้าทำงานกับโครงการเฟเดอรัลอาร์ต (Federal Art Project) ซึ่งเป็นโครงการหนึ่งภายใต้นโยบายนิวดีล (New Deal) ของ ปธน.รูสเวลต์ (Frankiln D. Roosevelt) เพื่อช่วยเหลือศิลปิน ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ
1938 21 กุมภาพันธ์, เขาได้รับสัญชาตติอเมริกัน
1940 เขาเปลี่ยนมาใช้ชื่อเรียกใหม่ว่า Mark Rothko เพราะกระแสต่อต้านยิวในยุโรปช่วงก่อนสงครามโลก ซึ่งมาร์กกลัวว่ากระแสนี้เมื่อมาถึงสหรัฐฯ จะทำให้เขาถูกรังเกียจ
1943 แยกทางกับภรรยา ทำให้โรทโก้เริ่มมีอาการเก็บกด  เขาเดินทางกลับไปยังพอร์ทแลนด์และได้รู้จักกับไคลฟอร์ด สติลล์ (Clyffford Still) จิตกรแนวแอ๊ปสแตร๊ค ทั้งคู่กลายเป็นเพื่อนสนิทกัน และว่ากันว่าสติลล์มีอิทธิพลให้โรทโก้มาเขียนงานแนวแอ๊พสแตร๊ค
1945 Slow Swirl at the Edge of the Sea เป็นหนึ่งในภาพเขียนที่โรทโก้นำมาจัดแสดงที่ The Art of This Century gallery ในแมนฮัตตัน โรทโก้บรรยายไว้ในโบรชัวร์ของงานว่า งานของเขาเป็นส่วนผสมระหว่างแอพสแตร๊คกับเซอร์เรียลิซีม (middle ground between abstraction and surrealism) 
แต่งงานกับแมรี่  (Mary Alice Beistle) พวกเขามีลูกด้วยกันสองคน เคท (Kathy Lynn, b.1950) และคริสโตเฟอร์ (Christoper, b.1963)
1947 ระหว่างที่เขามาสัมมนาที่ California School of Fine Arts  โรทโก้กับสติลล์ เกิดแนวความคิดที่จะตั้งกลุ่มศิลปินของตัวเอง พวกเขาจึงได้ก่อตั้ง The Subjects of the Artists School
ช่วงปี 1947- เป็นช่วงที่โรทโก้เริ่มเปลี่ยนรูปแบบการวาดภาพ โดยเขาได้รับแรงบันดาลใจอย่างมาจากงานของสติลล์  โรทโก้ทิ้งศิลปะแบบเซอร์เรียลิซึม และพัฒนางานแบบใหม่ ที่ถูกเรียกภายหลังว่า Color Field โดยโรทโก้เองเรียกงานของเขาในช่วงนี้ว่าเป็น Multiform 
1950 เขากับภรรยาเดินทางไปท่องเที่ยวดูงานศิลปะในยุโรป
1954 มาสอนหนังสือที่บรู๊คลินคอลเลจ (Brooklyn College)
1958 เขาตอบรับที่จะวาดภาพเพื่อใช้ตกแต่งห้องอาหารของร้านโฟร์ซีซั่น (The Four Seasons Restaurant) แต่ว่าต่อมาโรทโก้ยกเลิกสัญญา และได้เก็บภาพเขียนของเขาเอาไว้เอง
1968 16 กันยายน, เขาก่อตั้ง Rothko Foundation 
1969 กุมภาพันธ์, เขาทำสัญญากับ Marlborough Art Gallery  โดยสัญญาข้อหนึ่งระบุว่าจะไม่มีการขายผลงานของเขาเป็นระยะเวลาแปดปี, ยกเว้นแต่จะขายให้กับแกลลอรี่ Malborough 
1970 25 กุมภาพันธ์, โรทโก้ฆ่าตัวตาย โดยที่เลขาของเขาเป็นคนมาพบร่างของโรทโก้อยู่บนพื้นในห้องครัว โดยเขาฆ่าตัวตายโดยการกินยาระงับประสาทจำนวนมาก และใช้มีดกรีดข้อมือ

The Rothko Cast
หลังจากโรทโก้ เสียชีวิต เขาได้ทิ้งผลงานไว้กว่า 798 ภาพในบ้านของเขา , เบอร์นาร์ด ไรส์ (Bernard Reis) ซึ่งดูแลบัญชีให้โรทโก้ตอนที่เขามีชีวิตเป็นผู้ที่ดูแลบ้านของโรทโก้, เลวีน (Morton Levine) และสตาโมส (Theodoros Stamos) เพื่อนของโรทโก้ ได้เป็นผู้ดูแลบ้านของโรทโก้ พวกเขาร่วมกันนำภาพของโรทโก้ขายให้กับ แกลลอรี่ Marlborought  ซึ่งไรส์เองเพิ่งขึ้นเป็นผู้บริหารแกลอรี่ก่อนโรทโก้เสียชีวิตไม่นาน ภาพเขียนถูกขายให้แกลลอรี่กว่า 100 ภาพในราคาต่ำเพี่ยง 1.8 ล้านเหรียญ
1971 เคท ลูกสาวของโรทโก้ ได้ยืนฟ้องต่อศาล 
1975 ศาลได้สั่งให้มีการคืนภาพเขียน 658 ที่เหลืออยู่ ปรับเป็นเงิน 9.2  ล้านเหรียญ และยกเลิกสัญญาที่โรทโก้ทำไว้ แต่ก็ยังมีภาพของโรทโก้บางส่วนที่แกลลอรี่นำออกไปขายระหว่างที่สู้คดีกันอยู่ เช่นภาพ Homage to Matisse เพียงภาพเดียว มีราคาในตลาดกว่า 22.4 ล้านเหรียญ
2012 Black on Maroon ภาพเขียนของโรทโก้ ถูกนายอูมาเนียค (Wlodzimierz Umaniec) ใช้ปากกาเมจิคสีดำเขียนข้อความลุงไป ระหว่างนำไปจัดแสดงที่ Tate Modern
$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$

อันดับ 3  ชื่อภาพ The Card Players 

วาดโดยศิลปินชาวฝรั่งเศส Paul Cézanne ซึ่ง Qatar ได้ซื้อไปในราคา 259 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (8562.5 ล้านบาท)

4

Paul Cézanne

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประวัติPaul Cézanne

ปอล เซซาน (ฝรั่งเศสPaul Cézanne) จิตรกรชาวฝรั่งเศสในลัทธิประทับใจยุคหลัง สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีน้ำมัน งานของเซซานเป็นงานที่วางรากฐานสำหรับการเปลี่ยนแปลงจากศิลปะในลัทธิประทับใจของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ไปสู่ศิลปะบาศกนิยมของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นแนวที่ทั้งอ็องรี มาติส และปาโบล ปีกัสโซ ยกย่องเซซานว่าเป็น "the father of us all"

ประวัติและชีวิตส่วนตัว

ต้นกำเนิด

ปอล เซซาน เกิดเมื่อวันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 1839 (พ.ศ. 2382) ในครอบครัวที่มั่งคั่งร่ำรวยในเมืองแอ็กซ็องพรอว็องส์ ประเทศฝรั่งเศส บิดาของเขาประสบความสำเร็จจากธุรกิจด้านการธนาคารที่ความร่ำรวย ส่วนแม่ของเขานั้นก็เป็นที่จิตใจดีของสนับสนุนงานของลูกชาย พ่อของเซซานไม่ได้ปรารถนาให้เขาเป็นจิตรกร ทำให้เซซานต้องไปเรียนกฎหมายอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งเหมือนแอดการ์ เดอกาในปี ค.ศ. 1852 เซซานได้เข้าเรียนที่วิทยาลัยบูร์บง (Collège Bourbon) ที่นั่นเขาได้พบกับเอมีล ซอลา (Émile Zola) ผู้ซึ่งต่อไปจะกลายเป็นนักเขียนชั้นนำของฝรั่งเศส พวกเขาเรียนหนังสือและเติบโตมาด้วยกัน ทั้งสองจึงเป็นเพื่อนที่รู้ใจของอีกฝ่ายเป็นอย่างดี

เส้นทางชีวิตการเป็นศิลปิน

ค้นหาตัวเองในวัยเด็ก

เซซานมีความสนใจเกี่ยวกับบทกวีและงานศิลปะมาตั้งแต่เด็ก ๆ เขาได้เรียนวาดเขียนทั้งที่ในโรงเรียนและมหาวิทยาลัย ตลอดจนเรียนที่โรงเรียนศิลปะของเมืองซึ่งสอนให้ฟรี แต่รางวัลในการเขียนภาพซึ่งทางวิทยาลัยบูร์บงจัดให้มีขึ้นนั้น เซซานไม่เคยได้ ผู้ที่ได้รับรางวัลคือซอลานั่นเอง รางวัลที่เซซานเคยได้รับจากวิทยาลัยแห่งนี้คือคณิตศาสตร์ ภาษาละติน และกรีก และแม้ว่าเด็กหนุ่มทั้งสองคนนี้จะสนใจในการเขียนภาพ แต่ก็คิดอยู่เสอมว่าในวันข้างหน้าตนจะดำเนินอาชีพเป็นกวี
เมื่อเติบโตขึ้น เซซานก็เริ่มเขียนบทกวี ซึ่งบางครั้งเขาก็เขียนภาพประกอบบทกวีของเขาด้วยแล้วก็ส่งไปให้ซอลาดู ภาพชนิดนี้ยังมีเหลืออยู่ภาพหนึ่งแสดงถึงคนในครอบครัวกำลังนั่งล้อมวงกินอาหารที่ประกอบด้วยหัวคนซึ่งถูกตัดออกมา โดยมีเด็ก ๆ กำลังร้องไห้ขออาหารอีก นี่ก็เป็นบทกวีและภาพที่มีแนวความคิดประหลาด ๆ อยู่เบื้องหลัง อันเป็นสิ่งที่จะได้เห็นต่อไปอีกในการเขียนภาพของเซซาน
ต่อมา ซอลาได้ย้ายไปเรียนหนังสืออยู่ที่ปารีส เมื่อย้ายไปแล้วซอลาก็ชักชวนให้เซซานขออนุญาตพ่อมาเรียนเขียนภาพที่ปารีสดูบ้าง แต่ทว่าเซซานได้เข้าเรียนที่โรงเรียนกฎหมายของมหาวิทยาลัยแห่งเมืองแอ็กซ็องพรอว็องส์ไปเสียแล้ว เขาได้เขียนจดหมายไปบอกแก่ซอลา ความว่า "อนิจจา ฉันต้องเรียนกฎหมายเสียแล้ว จะว่าเลือกก็ไม่ถูกนัก เป็นการถูกบังคับให้เรียนมากกว่า" เซซานพบว่าการเรียนกฎหมายนั้นเป็นสิ่งที่เหลือทนสำหรับเขา และได้บอกไปในจดหมายถึงซอลา ดังนั้นสหายผู้นี้จึงบอกเขาให้เลือกเอาว่าจะเป็นทนายความหรือจิตรกรดี เซซานได้ใช้เวลาเรียนกฎหมายอยู่สองปีทั้ง ๆ ที่ไม่เต็มใจเลย เรียนไปเพียงแค่เพื่อตามใจพ่อของเขาเท่านั้นเอง ในที่สุดเมื่อรู้สึกว่าจะฝืนใจต่อไปไม่ไหว เขาก็เลยตัดสินใจว่าตนควรจะดำเนินอาชีพเป็นจิตรกรดีกว่า
ในระยะนั้น เซซานได้รับอนุญาตจากพ่อให้ไปเรียนเขียนภาพได้ในยามว่างจากการเรียนกฎหมาย และได้จัดให้เขามีห้องเขียนภาพขึ้นที่ภายในบ้าน ภาพที่เซซานเขียนในระยะนี้มีชื่อว่า "Kiss of the Muse" ซึ่งแม่ของเขาเมื่อได้เห็นภาพนี้แล้วก็พอใจมาก และบางทีอาจจะเป็นเพราะภาพนี้เองที่ทำให้พ่อของเขาเห็นใจและยอมให้เขาไปเรียนต่อ ที่ปารีสนั้น เซซานใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับซอลา และเขาก็ได้ไปลงทะเบียนเรียนที่สถาบันสวิส (Académie Suisse) และที่นั่นเองก็เป็นที่ที่เขาได้รู้จักกับที่ปรึกษาของเขา กามีย์ ปีซาโร
เมื่ออยู่ปารีสได้ระยะหนึ่ง เซซานก็เริ่มสงสัยในความความสามารถของตนที่จะเป็นจิตรกรเนื่องจากเขาได้ลองเขียนภาพของซอลาดูหลายครั้งแต่ก็ไม่เป็นผลเพราะเขียนได้ไม่เหมือน ดังนั้นเขาจึงตัดสินใจเดินทางกลับบ้านเพื่อหาลู่ทางอื่นแทนอาชีพจิตรกร
เมื่อกลับมาอยู่บ้านได้ราวปีเศษ เซซานเข้าทำงานเป็นเสมียนในธนาคารของพ่อ แต่เขาก็รู้สึกเบื่อหน่ายและมิได้มีจิตใจมุ่งมั่นกับงานอันใดที่พ่อเขาอยากให้ทำเลย แต่พ่อของเขามองว่าในฐานะที่จะเป็นผู้ได้รับมรดกของบ้านและธุรกิจของครอบครัว เซซานควรจะต้องเรียนรู้งานไว้ตามสมควร แต่เซซานก็ยังคงมีความสนใจในการกวีนิพนธ์และการเขียนภาพเป็นอย่างมาก และในที่สุดพ่อของเขาก็เห็นว่าลูกชายของตนคงมิสามารถทำงานแทนตนต่อไปได้ เขาจึงตัดสินใจส่งเซซานไปเรียนเขียนภาพที่ปารีสอีกครั้งดังนั้นในปี ค.ศ. 1862 เซซานกลับไปที่ปารีสเพื่อทำงานเขียนภาพอีกครั้ง แต่ก็ยังคงล้มเหลวอยู่ เขาพลาดการสอบเข้าเอกอลเดโบซาร์ แต่อย่างไรก็ดีเขายังคงทำงานเขียนภาพต่อไประหว่างนั้นที่ไป ๆ มา ๆ ระหว่างกรุงปารีสกับเมืองแอ็กซ็องพรอว็องส์ ในขณะเดียวกันก็ส่งผลงานของเขาไปยัง Salon jury ด้วย
ในช่วงเวลาที่กลับไปอยู่ที่ปารีสนั้น เขาได้เป็นเพื่อนกับจิตรกรในลัทธิประทับใจคนอื่น ๆ เช่น โกลด มอแน, กามีย์ ปีซาโร ด้วย มากไปกว่านั้นเขายังได้มีโอกาสรู้จักกับออร์ต็องซ์ ฟีแก (Hortense Fiquet) ผู้ซึ่งจะเป็นภรรยาของเขาในอนาคตอีกด้วยและพอเกิดสงครามปรัสเซีย เซซานและฟีแกก็พากันหลบหนีจากปารีสมายังเมืองแล็สตัก (L'Estaque) จนกระทั่งปี ค.ศ. 1871

ช่วงกลางของชีวิต

ในปี ค.ศ. 1872 เซซานใช้ชีวิตอยู่ที่เมืองปงตวซ ประเทศฝรั่งเศส กับฟีแก ภรรยาของเขาและลูกชายของเขา เซซานยังคงมีความกระตือรือร้นที่จะทำงานเขียนภาพต่อไป เขาได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการออกนั่งเขียนภาพข้างนอกกับกามีย์ ปีซาโร และที่ปงตวซนี่เองเซซานได้พบกับ[[ปอล โกแก็ง] ]ผู้ซึ่งชื่นชมในงานของเซซานและยอมจ่ายให้เขา ดังนั้นในราวปี ค.ศ. 1872-1874 เซซานจึงย้ายเข้ามาอยู่ที่บ้านและทำงานให้กับโกแก็งที่เมืองโอแวร์ซูว์รวซในขณะเดียวกันในปี ค.ศ. 1873 นั้น เซซานได้มีโอกาสพบกับฟินเซนต์ ฟัน โคค และในปี ค.ศ. 1874 เขาก็มีโอกาสนำผลงานของตนไปจัดแสดงที่งานแสดงผลงานของศิลปินกลุ่มลัทธิประทับใจ ในงานนั้นภาพของเซซานได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากกลุ่มศิลปินเป็นอย่างมาก แต่ถึงกระนั้นภาพของเซซานก็มีความแตกต่างจากศิลปินคนอื่น ๆ มากเช่นกัน การวางองค์ประกอบของเขาในขณะนั้นทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนถึงความใกล้เคียงกับงานของปีซาโร และในปี ค.ศ. 1877 เซซานก็ได้จัดงานแสดงผลงานของเขาเองโดยจัดแสดงทั้งหมด 16 ภาพ แต่ก็ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์กลับมาหนักมาก จนเขาเสียกำลังใจไป แต่อย่างไรก็ดีเขาก็ยังคงทำงานเขียนภาพต่อในสตูดิโอของเขา
ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1880 งานของเขาเริ่มออกห่างจากลักษณะของลัทธิประทับใจมากขึ้นไปทุกที แต่เขาก็ยังคงออกไปเขียนภาพทิวทัศน์อย่างสม่ำเสมอ ราวสิบปีให้หลังมานี้ เซซานพยายามส่งผลงานของเขาที่มีโครงสร้างตามแบบธรรมชาติเข้าร่วมนิทรรศการของ salon เสมอ แต่ก็ยังคงล้มเหลว (มีเพียงครั้งเดียวที่ได้ร่วมจัดแสดง) จนปี ค.ศ. 1886 พ่อของเขาได้เสียชีวิตและทิ้งมรดกไว้ให้กับเขาจำนวนหนึ่ง นั่นทำให้ปัญหาเรื่องการเงินของเขามีสภาพที่ดีขึ้นด้วย

ชีวิตช่วงบั้นปลาย

ในราวเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1895 เซซานได้มีโอกาสจัดแสดงนิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกของเขาที่กรุงปารีสที่ซึ่งอ็องบรวซ วอลาร์ นักธุรกิจค้าศิลปะได้รวบรวมงานของเขามาจัดแสดง นับว่าเป็นครั้งแรกในรอบ 20 ที่สาธารณชนได้เห็นงานของเขาและเริ่มตระหนักในอัจฉริยภาพของเขา ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1890 ผลงานของเขาถูกเป็นที่รู้จักในวงกว้างของยุโรป แต่เขาเป็นคนค่อนข้างขี้อายและไม่ค่อยมีสัมพันธ์ที่ดีกับศิลปินคนอื่น ๆ เท่าไรนัก ต่อมาเซซานจึงย้ายกลับไปยังบ้านเกิดที่แอ็กซ็องพรอว็องส์เป็นการถาวรชีวิตของเขาจบลงอย่างน่าเศร้า เมื่อวันหนึ่งเขาได้ออกไปเขียนภาพและโดนพายุพัดกระหน่ำจนสะบักสะบอม แต่ก็ไม่วายเมื่อพอถึงเช้าวันรุ่งขึ้นเขาก็ยังคงออกไปเขียนภาพอีกและโดนพายุซ้ำ ด้วยอายุที่มากแล้วจึงทำให้เขาเสียชีวิตจากอาการปอดบวมอย่างกะทันหันโดยปราศจากบุตรและภรรยามาเหลียวแล

แนวความคิดในการสร้างผลงาน

งานของเซซานแสดงถึงความเชี่ยวชาญทางการออกแบบ การวางองค์ประกอบ การใช้สี และการร่าง (draftsmanship) ฝึแปรงซ้ำ ๆ อ่อนไหว และลึกซึ้ง เป็นลักษณะเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของเซซานโดยเฉพาะ เซซานจะใช้สีต่าง ๆ และใช้ฝีแปรงสั้น ๆ และค่อยสร้างขึ้นจนซับซ้อนซึ่งเป็นทั้งการแสดงออกของสิ่งที่เห็นด้วยตาและเป็นรูปทรงนามธรรมของธรรมชาติในขณะเดียวกัน ภาพของเซซานแสดงให้เห็นถึงความจดจ่อในการศึกษาแบบที่วาดของเซซานเพื่อแสดงให้เห็นถึงความซับซ้อนในการมองในสิ่งที่เห็น
เซซานมีความเชื่อว่า การวาดเส้นกับสีไม่สามารถแยกออกจากกันได้อย่างสิ้นเชิง เมื่อคุณระบายสีไปได้เท่าไร คุณก็วาดมันไปด้วยเท่านั้น ยิ่งสีประสานกันมากเท่าไร ภาพวาดก็จะยิ่งเด่นชัดมากขึ้น เมื่อสีมีความเข้มข้นในตัวเองมาก รูปทรงก็จะมีความสมบูรณ์มากขึ้นเซซานได้ละทิ้งวิชาทัศนมิติเชิงเส้น (linear perspective) ที่เคยทำกันมา เขามุ่งเข้าหาความคิดใหม่ทางด้านสี ซึ่งเป็นวิชาทัศนียภาพอีกรูปแบบหนึ่งที่แตกต่างไปจากของเดิม คือ ให้สีเป็นผู้กำหนดความตื้นลึกหรือระยะใกล้ไกลแทนเส้น

ในระยะหลัง ผลงานของเซซานมีแนวความคิดว่า โครงสร้างเรขาคณิตเป็นรากฐานของรูปทรงธรรมชาติทั้งมวล ดังคำกล่าวของเซซานที่เขียนไว้ในจดหมายถึงเอมีล แบร์นาร์ ที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1907 ว่า "You must see in nature the cylinder, the sphere, the cone" คำกล่าวนี้ได้ให้อิทธิพลต่อบาศกนิยมในเวลาต่อมา

$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$

อันดับ 2   ชื่อภาพ Salvator Mundi 

วาดโดย Leonardo da Vinci ซึ่งนักสะสมชาวรัสเซียได้ประมูลไปในราคา 450 ล้านเหรียญสหร้ฐ (14877.0 ล้านบาท)

7

Leonardo da Vinci 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประวัติLeonardo da Vinci


เลโอนาร์โด ดา วินชี (อิตาลี: Leonardo da Vinci) เป็นชาวอิตาลี (เกิดที่เมืองวินชี วันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1452 - เสียชีวิตที่เมืองออมบัวซ์ ในวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1519) เป็นอัจฉริยบุคคลที่มีความสามารถหลากหลาย เป็นทั้ง สถาปนิกแบบเรอเนซองส์ นักดนตรี นักกายวิภาคศาสตร์ นักประดิษฐ์ วิศวกร ประติมากร นักเรขาคณิต นักวาดภาพ นักดาราศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ ดา วินชี มีงานศิลปะที่มีชื่อเสียงหลายชิ้น เช่น พระกระยาหารมื้อสุดท้ายและ โมนา ลิซ่า งานของ ดา วินชี ยังสร้างคุณประโยชน์กับวิชากายวิภาคศาสตร์ ดาราศาสตร์ เป็นบุคคลแรกที่วางรากฐานด้านการบิน รวมถึงวิศวกรรมโยธา ด้วยความที่เป็นบุรุษที่มีจิตวิญญาณที่รักในศาสตร์หลายแขนง เลโอนาร์โดทำให้เกิดจิตวิญญาณของสหวิทยาการในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ และกลายเป็นบุคคลสำคัญของยุคนั้น

$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$


อันดับ 1   แน่นอน คือภาพ Mona Lisa 

โดยศิลปิน Leonardo Da Vinci มูลค่ากว่า 760 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (25125.6 ล้านบาท)

1


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ น่ารักการ์ตูนเสือผลการค้นหารูปภาพสำหรับ น่ารักการ์ตูนเสือผลการค้นหารูปภาพสำหรับ น่ารักการ์ตูนเสือ








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น