ตี๋น้อยแห่งบ่อทอง

ตี๋น้อยแห่งบ่อทอง
เด็กคนนี้น่ารักที่สุดในจักรวาล

วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2559

ประโยชน์ของมะะขามที่ควรรู้

มะขาม

มะขาม ชื่อสามัญ Tamarind
มะขาม ชื่อวิทยาศาสตร์ Tamarindus indica L. จัดอยู่ในจัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)
      มะขามจัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นที่มีถิ่นกำเนิดในทวีฟแอฟริกา และมีการนำเข้ามาปลูกในแถบเอเชีย นอกจากนี้มะขามยังเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ และตามตำราพรหมชาติยังถือว่ามะขามเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง ที่ช่วยป้องกันสิ่งเลวร้าย ผีร้ายต่าง ๆ ไม่ให้มากล้ำกลาย อีกทั้งยังเป็นต้นไม้ที่มีชื่อมลคล ถือกันเป็นเคล็ดทำให้มีคนเกรงขาม

       สำหรับประโยชน์ของมะขามและสรรพคุณมะขามนั้นมีมากมาย และจัดว่าเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและยังมีสรรพคุณใช้เป็นยารักษาโรคอีกด้วย โดยส่วนที่นำมาใช้เป็นยาจะเป็นเนื้อฝักแก่ (มะขามเปียก) เปลือกของลำต้น (ทั้งสดและแห้ง) และเนื้อในเมล็ด สามารถช่วยรักษาได้หลายโรค เช่น เป็นยาขับเสมหะ แก้อาการท้องเดิน บรรเทาอาการท้องผูก ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ เป็นต้น
มะขาม ยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินซี วิตามินบี2 วิตามินเอ ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก โปรตีน คาร์โบไฮเดรต เป็นต้น โดยมะขามที่แก่จัดนั้นเราจะเรียกว่า “มะขามเปียก” โดยมะขามหวาน 100 กรัม จะมีแคลอรี่เท่ากับ 314 แคลอรี่

ประโยชน์ของมะขาม

  1. มะขาม ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้แก่ร่างกาย ด้วยสารต่อต้านอนุมูลอิสระ
  2. ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใสด้วยวิตามินซีจากมะขาม
  3. ช่วยในการชะลอวัย และการเกิดริ้วรอยแห่งวัย
  4. แคลเซียมจากมะขามจะช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
  5. มะขามมีธาตุเหล็ก ซึ่งมีส่วนช่วยในการสร้างเม็ดเลือด
  6. ใช้ในการทำทรีทเม้นท์ ด้วยการจำมาขัดตามซอกขาหนีบ รักแร้ ข้อพับ ซึ่งจะช่วยลดรอยคล้ำลงได้
  7. นำมะขามเปียกไปแช่น้ำ ลอกเอาใยออก นำมามะขามมาถูตัวเบา ๆ ช่วยให้ผิวหนังชุ่มชื่นตลอดทั้งวัน และช่วยกำจัดแบคทีเรียได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
  8. มะขามเปียกและดินสอพองผสมจนเข้ากัน นำมาพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีแล้วล้างออก จะช่วยให้ผิวหน้าดูกระชับสดใสและสะอาดยิ่งขึ้น
  9. มะขามเปียกผสมกับน้ำอุ่นและนมสด ใช้พอกผิว ช่วยให้ผิวหนังที่มีรอยดำคล้ำกลับมาขาวสดใสนุ่มนวลยิ่งขึ้น
  10. นำมาใช้เป็นส่วนผสมหรือใช้ทำเป็นกรดผลไม้ (AHA)
  11. สำหรับผู้ที่ดื่มกาแฟ หรือสูบบุหรี่เป็นประจำ ให้นำเนื้อมะขามมาขัดถูฟันเป็นประจำทุกครั้งที่แปรงฟัน จะช่วยขจัดคราบสกปรกบริเวณฟันลงได้
  12. สามารถนำมาใช้ทำยานวดผม ซึ่งช่วยรักษารากผม ฆ่าเชื้อราบนหนังศีรษะ และช่วยฆ่าเหาได้อีกด้วย ด้วยการนำมะขามเปียกมาผสมกับน้ำแล้วใช้มือคั้นเนื้อมะขามเพื่อให้ละลายออกผสมกับน้ำ น้ำที่ได้นั้นจะมีลักษณะเหลว (ไม่ควรเหลวมาก) แล้วนำมานวดศีรษะหลังจากที่สระผมเสร็จแล้วทิ้งไว้ประมาณ 30 นาทีแล้วล้างออก
  13. ใช้ทำเป็นน้ำยาอาบน้ำ ด้วยการนำใบมะขามมาจำนวนหนึ่ง ใส่ใบมะขามลงในน้ำเดือดแล้วปิดฝา แล้วเคี่ยวประมาณ 30 นาที จากนั้นนำลงจากเตาปล่อยให้เย็นแล้วนำมาอาบ จะช่วยให้ผิวพรรณดีขึ้น รักษาผดผื่นคันตามร่างกายและเชื่อบนผิวหนังได้
  14. การแปรรูปมะขามสามารถนำมาแปรรูปได้หลายชนิด เช่น มะขามแก้ว มะขามกวน มะขามอบไร้เมล็ด มะขามบ๊วย มะขามแช่อิ่ม มะขามคลุก มะขามจี๊ดจ๊าด เป็นต้น
  15. ช่วยป้องกันการเกิดและช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
  16. มะขามมีวิตามินเอที่มีส่วนช่วยในการบำรุงและรักษาสายตา
  17. ช่วยลดความร้อนในร่างกายได้เป็นอย่างดี
  18. แก้อาการท้องผูก ด้วยการใช้เนื้อมะขามเปียกประมาณ 15 ฝัก นำมาจิ้มกับเกลือแล้วรับประทาน หรือใส่เกลือเติมน้ำแล้วคั้นเป็นน้ำดื่ม
  19. แก้อาการท้องเดิน ด้วยการใช้เปลือกต้นประมาณ 2 กำมือ นำมาต้มกับน้ำปูนใสหรือน้ำ แล้วนำมารับประทาน
  20. ช่วยถ่ายพยาธิตัวกลมในลำไส้ พยาธิไส้เดือน ด้วยการใช้เมล็ดมะขามมาคั่วกระเทาะเปลือกออก นำเนื้อในเมล็ดมาแช่น้ำเกลือจนนิ่ม แล้วรับประทานครั้งละ 20 เม็ด
  21. ช่วยแก้อาการขับเสมหะ ละลายเสมหะ ด้วยการนำมะขามเปียกมาจิ้มเกลือ แล้วรับประทาน
  22. มะขามอุดมไปด้วยกรดอินทรีย์ ซึ่งมีคุณสมบัติในการช่วยชำระล้างความสกปรกในรูขุมขนและขจัดคราบมันบนผิวหนังได้เป็นอย่างดี
  23. รากมะขามมีส่วนช่วยแก้อาการท้องร่วง
  24. รากมะขามช่วยในการสมานแผล
  25. รากมะขามช่วยในการรักษาโรคเริม
  26. รากมะขามช่วยในการรักษาโรคงูสวัด
  27. เปลือกลำต้นมะขาม ช่วยแก้ไขตัวร้อน
  28. แก่นของต้นมะขาม ช่วยรักษาฝีในมดลูก
  29. แก่นของต้นมะขาม ช่วยในการขับโลหิต
  30. แก่นมะขามมีส่วนช่วยเป็นยาชักมดลูกให้เข้าอู่
  31. ใบสดมะขาม ใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย ขับลมในลำไส้
  32. ใบสดมะขาม ช่วยรักษาหวัด อาการไอ
  33. ใบสดมะขามมีส่วนช่วยในการรักษาโรคบิด
  34. ใบสดมะขาม มีคุณสมบัติใช้เป็นยาหยอดตารักษาเยื่อตาอักเสบ แก้อาการตามัว
  35. ใบสดมะขาม มีคุณสมบัติในการช่วยฟอกโลหิต
  36. ใบสดนำมาต้มผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆใช้อาบหลังคลอด
  37. เนื้อหุ้มเมล็ดของมะขาม ใช้เป็นยาสวนล้างท้อง
  38. ฝักดิบของมะขาม ใช้ในการฟอกโลหิต
  39. ฝักดิบของมะขามใช้ในการลดความอ้วน เป็นยาระบายลดอุณหภูมิในร่างกาย
  40. เปลือกมะขามช่วยรักษาแผลสด แผลไฟลวก แผลเบาหวาน ถอนพิษ
  41. เปลือกเมล็ดมะขาม ช่วยสมานแผลที่ช่องปาก คอ ลิ้น และตามร่างกาย
  42. ดอกสดของมะขาม ใช้เป็นยาลดความดันโลหิตสูง

คุณค่าทางโภชนาการของมะขามดิบต่อ 100 กรัม

  • -พลังงาน 239 กิโลแคลอรี่
  • คาร์โบไฮเดรต 62.5 กรัม
  • - น้ำตาล 57.4 กรัม
  • - เส้นใย 5.1 กรัม
  • - ไขมัน 0.6 กรัม
  • - โปรตีน 2.8 กรัม
  • - วิตามินบี1 0.428 มิลลิกรัม 37%
  • -วิตามินบี1 0.428 มิลลิกรัม 37%
  • วิตามินบี2 0.152 มิลลิกรัม 13%
  • วิตามินบี3 1.938 มิลลิกรัม 13%
  • วิตามินบี5 0.143 มิลลิกรัม 3%
  • วิตามินบี6 0.066 มิลลิกรัม 5%
  • วิตามินบี9 14 ไมโครกรัม 4%
  • โคลีน 8.6 มิลลิกรัม 2%
  • วิตามินซี 3.5 มิลลิกรัม 4%
  • วิตามินอี 0.1 มิลลิกรัม 1%
  • วิตามินเค 2.8 ไมโครกรัม 3%
  • ธาตุแคลเซียม 74 มิลลิกรัม 7%
  • ธาตุเหล็ก 2.8 มิลลิกรัม 22%
  • ธาตุแมกนีเซียม 92 มิลลิกรัม 26%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 113 มิลลิกรัม 16%
  • ธาตุโพแทสเซียม 628 มิลลิกรัม 13%
  • ธาตุโซเดียม 28 มิลลิกรัม 0%
  • ธาตุสังกะสี 0.1 มิลลิกรัม 1%

วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2559



เมล่อน












ชนิดของเมล่อนจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ตามลักษณะผล คือ
1. ร็อคเมล่อน  คือ เมล่อนที่มีลักษณะของเปลือกภายนอกแข็ง มีลายขรุขระเล็กน้อย
2. เน็ตเมล่อน  คือ เมล่อนที่มีลักษณะของเปลือกภายมีลายร่างแหแผ่คลุมเปลือกด้านนอกไว้
3. เมล่อนผิวเรียบ หรือที่นิยมเรียกกันว่า แคนตาลูป
1. การเพาะเมล็ดและการอนุบาลเกล้าพันธุ์เมล่อน
- ให้นำเมล็ดพันธุ์แช่ในน้ำอุ่นนานประมาณ  4 - 6 ชม.  (จนเมล็ดจมน้ำ)
- นำเมล็ดที่แช่น้ำอุ่นมาแล้วห่อด้วยกระดาษชำระ  พรมน้ำให้พอมีความชื้นเล็กน้อยแต่อย่าให้แฉะ แล้วห่อด้วย ผ้าขนหนูที่เปียกพอหมาดๆ ห่อ และนำไปบ่มในอุณหภูมิ 28 - 34 องศาเซลเซียส บ่มนานประมาณ 24 - 36 ชม. เมล็ดเมล่อนจะเริ่มงอกรากยาวประมาณ 0.5 ซม. ก็สามารถย้ายลงวัสดุปลูกได้ การบ่มเมล็ดนั้นในช่วงที่มีอากาศเย็น อาจจะนำผ้าขนหนูที่ห่อเมล็ดนั้นไปใส่ไว้ในกระติกน้ำเพื่อรักษาอุณหภูมิให้เมล็ดอุ่นเพื่อให้เกิดการงอกได้ง่ายขึ้น
- นำเมล็ดมาฝังลงในวัสดุเพาะเกล้า โดยใช้คีมคีบเมล็ดให้ปลายเมล็ดด้านแหลมทิ่มลงไปในวัสดุเพาะ สำหรับวัสดุเพาะที่นิยมใช้ในการเพาะเมล่อนคือ  พีทมอส เนื่องจากคุณสมบัติที่ดูดซับความชื้นได้ดี มีความร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี และยังมีธาตุอาหารพืชอยู่ด้วยทำให้เมล่อนที่เพาะด้วยวัสดุปลูกนี้มีความแข็งแรง และเจริญเติบโตได้ดี 
- รดน้ำเช้า - เย็นให้พอชุ่มวัสดุเพาะ  ประมาณ 3 - 5 วัน เมล็ดจะดันตัวออกมาจากวัสดุเพาะ ให้เราอนุบาลเกล้าไปประมาณ 14 - 20 วัน ต้นเกล้าจะมีใบจริงประมาณ 2 - 3 ใบ ก็สามารถย้ายลงปลูกได้
2. การย้ายปลูก
- เตรียมถุงปลูกขนาด 10 - 12 นิ้ว นำวัสดุปลูก ขุยมะพร้าว จำนวน 2 ส่วน, ทรายหยาบ 1 ส่วน, แกลบดิบ 1 ส่วน ผสมกันแล้วใส่วัสดุปลูกลงถุงปลูก
- รดน้ำให้วัสุดปลูกชุ่ม และแช่น้ำค้างลงในจานรองกระถางไว้ประมาณ 1 - 2 วันก่อนปลูก
- ก่อนปลูกให้ใช้น้ำรดวัสดุปลูกอีกครั้งเพื่อล้าง สารแทนนินในขุยมะพร้าวออก (เนื่องจากสารแทนนินในเปลือกมะพร้าวถ้ามีมากไปจะมีผลต่อรากพืช)
- นำต้นเกล้าเมล่อนที่อนุบาลมาได้ประมาณ 14 - 20 วัน ย้ายลงปลูกในกระถาง โดยระหว่าง 1 สัปดาห์แรกของการย้ายปลูกให้เมล่อนได้รับแสงในช่วงเช้าหรือเย็นประมาณ 5 - 6 ชั่วโมงต่อวัน (หลีกหลี่ยงแสงแดดที่แรงเกินไปในช่วงกลางวันหรือบ่าย)
- รดน้ำวันละ 2 ครั้ง คือ เช้า-เย็น และเพิ่มการให้น้ำเป็น 4 ครั้งต่อวันเมื่อแตงติดลูกแล้ว
- ปริมาณการให้ปุ๋ยจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วงคือ
1. ช่วงเจริญเติบโตให้ ปุ๋ย A,B ที่มีปริมาณ  N = 150 - 200 mg./L.  และ P = 30 -50 mg./L. และ P = 150 - 200 mg./L.
2. ช่วงพัฒนาผล จะลดปริมาณไนโตรเจนลงเล็กน้อย ประมาณ และเพิ่ม K ขึ้น โดยปรับ K เพิ่มเป็น 250 - 300 mg./L. ในระหว่างนี้ให้เสริม C เป็นระยะเพื่อป้องกันผลแตกและภาวะการขาดแคลเซียม อัตราส่วนการใช้ C 
อยู่ที่ประมาณ 200 - 300 mg./L.
- ประมาณ 1 สัปดาห์ก่อนเก็บเกี่ยวลดการให้น้ำลงเพื่อป้องกันผลแตงแตก และเป็นการเพิ่มความหวานให้กับแตงมากขึ้น
3. การทำค้างให้ต้นเมล่อน- ให้ใช้เชือกผูกกับคานสูงประมาณ 1.8 ม. - 2 ม. ขึงเชือกเป็นแนวดิ่งลงพื้น ให้ตรงกับกระถางปลูกเพื่อใช้พยุงลำต้นเมล่อน

- ให้ใช้เชือกผูกหลวมๆ  ใต้ข้อใบเมล่อนเพื่อพยุงให้ต้นเมล่อนไม่ล้ม (ผูกข้อเว้นข้อ ขึ้นไปตามแนวเชือก)


4. การตัดกิ่งแขนง , การตัดยอด, การตัดใบ
- เมื่อเมล่อนอายุได้ประมาณ 30 วัน จะมีกิ่งแขนงงอกออกมาจากข้อใบแต่ละข้อ ให้เราเด็ดกิ่งแขนง ที่งอกออกมาระหว่างใบทิ้งให้หมด โดยนับจากข้อใบที่ 1 ถึงข้อใบที่ 7  (แนะนำให้เด็ดในช่วงเช้า) เนื่องจากกิ่งแขนงจะอิ่มน้ำ จะเด็ดง่ายและไม่ทำให้เมล่อนบอบช้ำมาก
- ให้ไว้กิ่งแขนงที่งอกออกมาจากข้อใบที่ 8 - 12 ไว้เพื่อให้เมล่อน สร้างดอกตัวเมียและติดผลในกิ่งแขนงดังกล่าว
- เมื่อเมล่อนมีข้อใบได้ประมาณ 25 ข้อ ให้เราตัดยอดเมล่อนทิ้งเพื่อให้ สารอาหารมาเลี้ยงเฉพาะผล และลำต้นที่เหลือ
- ให้เด็ดใบล่างของเมล่อน ที่ไม่ได้รับแสงออกไปประมาณ 3 - 4 ใบ เพื่อป้องกันเชื้อรา และแมลงที่อาจมารบกวนได้
- ให้ตัดปลายกิ่งแขนงที่ทำการผสมดอกและเมล่อนติดผลแล้วในกิ่งนั้นออก โดยให้เหลือใบเลี้ยงที่กิ่งแขนงประมาณ 2 - 3 ใบ
5. การผสมเกสรและการไว้ผลเมล่อน
- เมื่อเมล่อนสร้างดอกตัวเมียที่กิ่งแขนง ลักษณะของดอกตัวเมียจะดูได้จากฐานรองดอกจะมีลักษณะกลมรี เป็นกระเปราะเห็นชัดเจน  เมื่อวันที่ดอกตัวเมียบานให้เราช่วยต้นเมล่อนในการผสมเกสรดอก โดยให้เด็ดดอกตัวผู้ (ดอกตัวผู้มักเกิดที่ข้อใบแต่ละข้อ) ออกมาแล้วดึงกลีบดอกออกให้หมด แล้วนำช่อเกสรดอกตัวผู้ที่อยู่ด้านใน มาเขี่ยกับเกสรของดอกตัวเมีย
- การผสมเกสรแนะนำให้ทำในช่วงเช้าที่ดอกบาน ประมาณ 6.00 - 10.00 น. ซึ่งเวลาดังกล่าวดอกตัวเมียจะพร้อมที่สุดต่อการผสมเกสร หากเกินเวลาดังกล่าวกลีบดอกตัวเมียจะหุบและเฉาไป
- การผสมดอกตัวเมีย 1 ดอกจะใช้ดอกตัวผู้ประมาณ 3 ดอก ในการผสม
- เมื่อผสมเกสรดอกแล้วให้เราจดวันที่ผสมเกสรไว้แล้วแขวนป้ายวันที่ผสมไว้ที่ดอกนั้นด้วย เพื่อช่วยในการนับ
อายุผลของเมล่อนเพื่อการเก็บเกี่ยวต่อไป
- เมล่อนเป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก ยิ่งในช่วงที่มีการพัฒนาผล  ให้เรารดน้ำ 3 เวลา คือเช้า-กลางวัน-เย็น
- เมล่อนเมื่อผสมเกสรไปแล้วประมาณ 1 สัปดาห์ผลจะเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น เราต้องมีการผูกเชือกเพื่อทำการแขวนผล โดยให้เราใช้เชือกทำเป็นบ่วงคล้องที่ขั้วผล เพื่อรับน้ำหนักผลเมล่อนที่จะเพิ่มมากขึ้น
- หากปลูกนอกโรงเรือนแนะนำให้ห่อผลด้วยถุงกันแมลง เพื่อป้องกันแมลงศัตรูพืชมาเจาะทำลายผล
- การให้ปุ๋ยนั้นในช่วงการพัฒนาผลนั้น ให้เราใช้ปุ๋ย A,B ในอัตราส่วน 2.5 ซีซี / น้ำ 1 ลิตร และใช้ปุ๋ย K เสริมเพื่อให้ผลเมล่อนมีการสะสมแป้ง เพื่อพัฒนาให้เกิดความหวานมากขึ้น อัตราส่วนการใช้ K คือ 150 ถึง 200 มิลลิกรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร (2 ซีซี / น้ำ 1 ลิตร) ฉีดพ่นทางใบ หรือเติมในระบบปลูกทุกๆ 5 - 7 วัน
6. การเก็บเกี่ยว
- การเก็บเกี่ยวเมล่อนส่วนใหญ่เราจะนับอายุของผลเป็นหลัก ขึ้นอยู่กับชนิดและสายพันธุ์ของเมล่อนที่ปลูก โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 55 - 60 วัน หลังวันดอกบาน หรือวันที่ผสมเกสร 
- เมล่อนบางชนิดจะมีลักษณะพิเศษเห็นชัดเจนเมื่อผลสุกพร้อมเก็บ คือ มีรอยแตกที่ขั้วผลประมาณ 40 - 50%  บางชนิดจะมีกลิ่นหอมออกมาจากผล
- เมล่อนที่มีคุณภาพดี จะต้องมีความหวานอย่างน้อย 14 องศาบริกซ์ขึ้นไป หรือไม่ควรต่ำกว่า 12 องศาบริกซ์ ก่อนการเก็บเกี่ยวเมล่อนประมาณ 1 สัปดาห์ ให้เราเริ่มลดปริมาณการให้น้ำต้นเมล่อนลง โดยสังเกตุที่ใบเมล่อนจะเริ่มเหี่ยวลงในช่วงกลางวัน การทำเช่นนี้เพื่อเร่งให้เมล่อนเร่งกระบวนการเปลี่ยนแป้งที่สะสมในผลให้เป็นน้ำตาล เพื่อเป็นการเพิ่มความหวานของผลให้มากขึ้น

* การทานเมล่อนให้อร่อยหลังเก็บเมล่อนมาแล้วให้ทิ้งผลไว้ที่อุณหภูมิปกติ จนขั้วผลแห้งและสามารถดึงหลุดออกมาได้ก่อน ก่อนรับประทานให้ปฎิบัติดังนี้
1. ล้างผลเมล่อนให้สะอาด ผึ่งให้แห้ง
2. นำผลเมล่อนใส่ในตู้เย็น (ช่องแช่ผัก) ทิ้งไว้ประมาณ 3 - 4 ชั่วโมง

3. นำผลเมล่อนมาผ่าออกเป็น 6 - 8 ซีก
4. เขี่ยเมล็ดออก โดยไม่ต้องปาดไส้ในทิ้ง (เพราะส่วนที่อร่อยที่สุดของเมล่อนคือส้วนเนื้อด้านในสุด)
5. ใช้มีดปาดเนื้อให้ห่างจากเปลือกประมาณ 1 เซนติเมตร หรือจะใช้ช้อนตักทานเลยก็ได้ครับ

โรคและแมลงศัตรูของเมล่อน
1. โรคเหี่ยวจากเชื้อรา (Fusarium Wilt) เป็นโรคที่เกิดกับพืชตระกูลแตงอย่างกว้างขวาง มีหลายเชื้อ

เชื้อสาเหตุ : 
Fusarium oxysporum f.sp. melonis : เป็นเชื้อสาเหตุ ของโรคเหี่ยวที่พบในเมล่อน ซึ่งจะมี 4 ชนิดเชื้อ (races)

ลักษณะอาการ : 
เชื้อสาเหตุเข้าสู่ต้นพืชทางราก ในระยะต้นอ่อนใบเลี้ยงจะเหี่ยว เปลี่ยนเป็นสีเหลือง ร่วง พืชแสดงอาการเหี่ยวเฉาจากส่วนยอดลงมา ส่วนของเถาของต้นที่โตแล้วจะแสดงอาการใบล่างเหลืองโดยอาการเริ่มต้นแสดงหลายอย่างเช่น ต้นแตก เกิดอาการเน่าที่โคนและซอกใบ ถ้าเกิดอาการเน่า และพบเชื้อราสีขาวบริเวณรอยแตก หลังจากนั้นพืชจะแสดงอาการเหี่ยวและตาย

การป้องกันกำจัด• ปรับสภาพความเป็นกรด – ด่าง ของดินปลูกให้เหมาะสมคืออยู่ที่ pH 6.5
• ใส่ปุ๋ยไนเตรท และไนโตรเจน จะสามารถลดความรุนแรงของโรค
• ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน
• ถอนต้นที่เป็นโรค(เผา)ทิ้ง และป้องกันโรคโดยการใช้สารจุลินทรีย์ เช่น ไตรโคเดอร์มา
• ใช้ เบนเลทผสม แคปแทน หรือ เทอร์ลาคลอร์ ราดโคนก่อนปลูกและหลังปลูก 15 วัน
2. โรคต้นแตกหรือยางไหล ( Gummy Stem Blight )  

เชื้อสาเหตุ : Mycosphaerella melonis ( Didymella bryoniae )
เป็นโรคที่มีการระบาดอย่างกว้างขวางในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อน เป็นโรคที่ติดสามารถติดมากับเมล็ดพันธุ์ โรคนี้จะเข้าทำลายพืชทางแผลที่ใบและลำต้น โรคต้นแตกยางไหลจะระบาดรุนแรงในสภาพแปลงปลูกที่มีอุณหภูมิและความชื้นสูง หรือสภาพของแปลงที่มีอุณหภูมิกลางคืนต่ำ และมีความชื้นสูง

ลักษณะอาการ : อาการที่แสดงในใบแก่ แผลจะมีลักษณะกลม สีน้ำตาลอมแดง หรือมีสีดำ ขนาดประมาณ 5 มิลลิเมตร รอบแผลจะมีสีเหลือง หลังจากนั้นแผลจะฉีกขาดหรือร่วง อาการเริ่มแรกจะปรากฏที่ขอบใบและขยายเข้าไปที่ส่วนกลางของใบ การเข้าทำลายส่วนของลำต้น อาการที่ปรากฏคือ จะมีแผล เชื้อสาเหตุจะสร้างเมือกเหนียวสีน้ำตาล หรือน้ำตาลอมแดง

การป้องกันกำจัด: การป้องกันและกำจัดสามารถทำได้ดังต่อไปนี้คือ
• การปลูกพืชหมุนเวียน
• ใช้พันธุ์ต้านทานโรค
• ใช้สารเคมีฉีดพ่นเช่น อ็อกเทพ โนมิลดิว ไดแทน เอ็ม - 45, บราโว , เทอร์รานิล หรือ เอคโค



3. โรคราแป้ง ( Powdery Mildew ) 


เชื้อสาเหตุ : Erysiphe cichoracearum De candolle
Sphaerotheca fuliginea : เป็นเชื้อสาเหตุของราแป้งในเมล่อน

การแพร่กระจาย : โดยทั่วไปจะมีการแพร่กระจายโดยลม จะระบาดอย่างกว้างขวางในสภาพที่มีอุณหภูมิสูง ความชื้นสัมพัทธ์ 50 – 90 % ความเข้มของแสงต่ำ มีน้ำค้างและมีการปลูกพืชในอัตราที่จำนวนต้นสูงจนเกินไป อย่างไรก็ตามโรคราแป้งสามารถที่จะระบาดได้ดีภายใต้สภาพการปลูกที่ไม่มีน้ำค้างได้เช่นเดียวกัน

ลักษณะอาการ : เชื้อสาเหตุเข้าทำลายพืชตระกูลแตงทุกชนิด ลักษณะอาการขั้นต้น จะปรากฏเป็นจุดเหลืองอ่อนที่ ลำต้น ยอดอ่อน ทั้งด้านบนและด้านล่างของใบ เมื่อแผลมีการขยายใหญ่ขึ้น จะมี สปอร์ของเชื้อราสีขาวคล้ายแป้งปกคลุม หลังจากนั้นใบจะเปลี่ยน เป็นสีเหลืองอมน้ำตาลและแห้งกรอบ

 การป้องกันและการกำจัด
• การใช้สายพันธุ์ต้านทานโรค
• บาวีซาน อัตรา 10 – 20 กรัม ต่อ น้ำ 20 ลิตรฉีดพ่น
• ฉีดพ่นด้วย กำมะถัน ชนิดละลายน้ำอัตรา 30- 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดในสภาพอุณหภูมิต่ำ ในกรณีที่อุณหภูมิสูงจะมีผลให้ใบของเมล่อนใหม้
• ใช้ ทอปซิน, เบเลตันฉีดพ่นตามอัตราที่กำหนด



4. โรคราน้ำค้าง ( Downy Mildew) 


เชื้อสาเหตุ  : Pseudoperonospora cubensis ( Berkeley & Curtis ) Roslowzew
เป็นโรคที่ สำคัญของพืชตระกูลแตงในเขตร้อนและกึ่งร้อน แพร่กระจายโดยลม ฝน และเครื่องมือการเกษตร

ลักษณะอาการ :  อาการเริ่มแรกจะพบที่ใบล่าง โดยเกิดเป็นจุดสีเหลืองหรือสีน้ำตาลขนาดเล็ก แล้วขยายขนาดใหญ่ขึ้นเป็นรูปเหลี่ยมอยู่ระหว่างเส้นใบ นอกจากนี้สามารถตรวจสอบบริเวณใต้ใบโดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนเช้ามืด จะปรากฏเส้นใยเชื้อราสีขาว หรือสีเทา ใบพืชจะแห้งตายแต่ก้านใบจะชูขึ้น ขอบใบม้วน ใบจะร่วง 

การป้องกันกำจัด :
• ใช้สารเคมีฉีดพ่น โดยใช้ แทนเอ็ม 15 กรัม + โนมิลดิว 25 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นใต้ใบทุกๆ 7 วัน หากมีการระบาดรุนแรง ใช้ ลอนมิเนต 1- 2 ช้อนชาผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น ให้ทั่วทุก 7 วัน ประมาณ 2- 3  ครั้ง
• ฉีดพ่นด้วย ริดโดมิล โกล เอ็ม แซด , บราโว 82 W, เทอรานิล หรือ  เอคโค เมื่อโรคเข้าทำลาย 3- 7 วัน
• ใช้พันธุ์ต้านทาน

แมลงศัตรูที่สำคัญ

1. เพลี้ยไฟ (Thrips) 
          เป็นแมลงที่มีขนาดเล็กมากเท่าปลายเข็ม ตัวอ่อนมีสีแดง ตัวแก่เป็นสีดำ ดูดน้ำเลี้ยงที่ปลายยอดอ่อนของต้น ทำให้ยอดชะงักการเจริญเติบโต หดสั้น บิดเบี้ยว ระบาดมาในสภาพอากาศร้อนและแห้งของฤดูร้อน โดยมีลมเป็นพาหนะพาเพลี้ยไฟเคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น ป้องกันกำจัดได้ด้วยการปลูกพืชที่กันชนที่ต้านทานเพลี้ยไฟ เช่น มะระ ล้อมรอบแปลง และ ฉีดพ่นป้องกันกำจัดแมลงโดยใช้ ยาเส้น 1 ขีด ต่อน้ำ 5 ลิตร แช่ 1 คืน  ฉีดพ่นทุกๆ 3 - 7 วัน 


2. ด้วงเต่าแตง (Leaf beatle) 
          เป็นแมลงปีกแข้ง ลำตัวยาวประมาณ 1 ซม. ปีกมีสีเหลืองปนส้ม กัดกินใบแตงให้แหว่งเป็นวงๆ ถ้าระบาดและทำความเสียหายให้กับใบจำนวนมาก ให้ฉีดพ่นด้วยเชื้อราบิวเวอร์เรีย


3. หนอนชอนใบ (Leaf minor) 
          เป็นแมลงตัวเล็กที่ชอนไชอยู่ใต้ผิวใบ กัดกินเนื้อใบเป็นทางยาวคดเคี้ยวไปทั่วทั้งผืนใบ โดยทั่วไปไม่พบว่ามีการระบาดมากในพืชตระกูลแตงเท่าใดนัก แต่ในกรณีที่มีการระบาดมาก และเกิดขึ้นในระยะแรกของการเจริญเติบโตจะทำให้พื้นที่ใบเสียหายส่งผลให้กระทบกระเทือนต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตต่อไปของต้นแตงเทศ วิธีการกำจัดต้องใช้สารสกัดจากสะเดา, ยาเส้น หรือบิวเวอร์เรีย

4. แมลงวันผลไม้ (Melon fruit fly) 
          เป็นแมลงที่ทำความเสียหายแก่ผลไม้มากที่สุดชนิดหนึ่ง ตัวเมียจะวางไข่ในผลไม้ใกล้สุก ทำให้เกิดตัวหนอนชอนไชอยู่ในผล ทำให้เกิดแผล เน่าเสียราคา วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันคือการห่อผลก่อนที่ผลไม้จะสุกแก




วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2559

วัตถุที่แพงที่สุดในปฎพีนี้

อันดับ 12 ทองคำ

ราคา $38.81 (1,240 บาท) ต่อกรัม
ทองคำถูกใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณในรูปแบบของเครื่องประดับ และตัวกลางในการแลกเปลี่ยน ในปัจจุบันยังใช้อุตสาหกรรมอิเลคทรอนิคส์ และยังเป็นสสารช่วยต้านทานการกัดกร่อน มันมีอยู่ในผลิตภัณฑ์อาหารและความงามเพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้กับผู้ครอบครอง
gold

อันดับ 11 Rhodium (โรเดียม)

ราคา $45 (1,440 บาท) ต่อกรัม
โรเดียมเป็นธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 45 และสัญลักษณ์คือ Rhโรเดียมเป็นโลหะทรานซิชันสีขาวเงินที่หายากอยู่ในกลุ่มของแพลทินัม และพบในแร่แพลทินัม ใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะผสมแพลทินัม ปัจจุบันถูกใช้เป็นตัวเร่งปฏิริยาในการเผาไหม้เพื่อลดก๊าซคาร์บอนในเครื่องยนต์
Rhodium

อันดับ 10 Platinum (ทองคำขาว)

ราคา $48 (1,530 บาท) ต่อกรัม
ทองคำขาวมีราคาแพงกว่าทองคำธรรมดา ทองคำขาวหรือ Platinum เป็นธาตุเคมีที่มีเลขอะตอม 78 และสัญลักษณ์คือ Pt เป็นธาตุโลหะทรานซิชัน มีสีเงินเทา มีน้ำหนักมาก สามารถยืดและตีเป็นแผ่นได้ แพลทินัมทนต่อการกัดกร่อนมาก ในธรรมชาติพบอยู่กับสินแร่ของนิกเกิลและทองแดง ปัจจุบันแพลทินัมมีราคาสูงกว่าทองคำ 2-3 เท่า แพลทินัมสามารถใช้ทำเครื่องประดับ อุปกรณ์ในห้องทดลอง ตัวนำไฟฟ้า งานทันตกรรม และเครื่องกรองไอเสียในรถยนต์ ธาตุแพลทินัมเรียกได้อีกอย่างว่า ทองคำขาว นอกจากนั้นทองคำขาวยังถูกนำมาใช้ใส่ส่วนผสมของยาต้านโรคมะเร็ง
Platinum

อันดับ 9 นอแรด

ราคา $55 (1,760 บาท) ต่อกรัม
ใครจะเชื่อว่า “นอแรด” มีค่ามากกว่าทองคำ เพราะขายกันที่กิโลกรัมละเกือบ 2,000,000 บาท และหมายถึงชีวิตของแรด 1 ตัวอาจมีราคาถึง 8-10 ล้านบาท ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์พิสูจน์ได้ว่าการบริโภคนอแรดให้ผลทางการแพทย์ แต่ความต้องการนอแรดในตลาดเอเชีย ซึ่งยังมีความเชื่ออยู่มากว่า การบริโภคนอแรดให้ผลทางการรักษาอาการของโรคบางประเภท ความต้องการนี้ส่งผลให้ราคาซื้อขายนอแรดสูง และยังเป็นการสนับสนุนให้เกิดขบวนการล่าแรดข้ามชาติ
Rhino horn

อันดับ 8 Methamphetamine หรือ ยาไอซ์

ราคา $120 (3,600 บาท) ต่อกรัม
Amphetamine เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ปี พ.ศ. 2518 เป็นสารประกอบของยาบ้านั่นเองส่วนเมทแอมเฟตามีน (Methamphetamine) หรือยาไอซ์เป็นอนุพันธ์ซึ่งสกัดจาก แอมเฟตามีน ซึ่งมีความบริสุทธิ์มากกว่า และมีผลต่อระบบ ประสาทส่วนกลางได้รุนแรงกว่า แต่ที่น่าตลกทีสุดแล้วหากเทียบกันกรัมต่อกรัมแล้ว ยาไอซ์ แพงกว่าทองคำ และทองคำขาวซะด้วยสิ คิดง่ายๆ ราคากลางทองคำตอนนี้ 1 บาท ประมาณ 2 หมื่นบาท ถ้า 1 กิโลก็ประมาณ 66 บาท หรือประมาณ 1 ล้าน 3 แสนบาท แต่ยาไอซ์ 1 กิโลกรัม ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 3 ล้าน 6 
Methamphetamine

อันดับ 7 Plutonium (พลูโตเนียม)

ราคา $4000 (120,000บาท) ต่อกรัม
พลูโตเนียมเป็นธาตุโลหะที่มีกัมมันตภาพรังสี มีสัญลักษณ์ Pu มีเลขอะตอม 94 พลูโตเนียมเป็นวัสดุฟิชไซล์ที่ผลิตขึ้นจากยูเรเนียมธรรมชาติ เป็นธาตุที่ใช้ในการทำอาวุธนิวเคลียร์ พลูโทเนียมมีพิษที่เกิดจากการแผ่รังสีที่จะสะสมที่ไขกระดูก นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติอื่น ๆ ที่ทำให้การจัดการพลูโทเนียมเป็นเรื่องที่อันตรายมาก บางองค์กรนำเอาพลูโตเนียมมาเป็นธาตุในการสร้างพลังงานปรมณู
Plutonium 238

อันดับ 6 Taaffeite

ราคา $2,500 ถึง $20,000 (80,000 – 600,000บาท) ต่อกระรัต หรือกรัมละ 3 ล้านบาท 
Taaffeite เป็นชื่อที่มาจากนักอัญมณีวิทยาชาวออสเตรเลีย “Richard Taaffe” ซึ่งเป็นผู้ค้นพบการเจียระไนและขัดตกแต่งอัญมณี ค้นพบชนิดนี้เป็นครั้งแรกในปีค.ศ. 1945 ช่วงสีที่พบของอัญมณีชนิดนี้ อยู่ในช่วงเกือบใสไม่มีสี ไปจนถึงสีลาเวนเดอร์ สีม่วงอมน้ำเงินซีด และสีม่วงอมน้ำเงิน Taaffeite มีแหล่งกำเนิดที่ประเทศศรีลังกา และแทนซาเนีย แต่อาจจะพบจากแหล่งอื่นๆได้เช่นกัน มีการประมาณกันว่า Taaffeite หายากกว่าเพชรประมาณ 1 ล้านเท่า และถือเป็นหนึ่งในอัญมณีที่หายากและมีมูลค่าสูงที่สุดในโลกประเภทหนึ่ง แต่เนื่องจากมนุษย์ให้ราคาของเพชรมากกว่า Taaffeite จึงมีราคาถูกกว่าเพชรนิดนึง
Taaffeite2

อันดับ 5 Tritium (ทริเทียม)

ราคา $30,000 (960,000บาท) ต่อกรัม
ทริเทียม (tritium) เป็นไอโซโทปหนึ่งในสามชนิดของอะตอมไฮโดรเจน อย่าจำสับสนกับ Titanium (ไทเทเนียม) นะครับ ทริเทียมเป็นสารที่สามารถเรืองแสงด้วยตัวเองเป็นสิบๆปีโดยไมต้องดูดซับแสงใดๆ ถูกใช้เป็นสารเคลือบป้ายเรืองแสงต่างๆ แต่ก็ไม่ใช่ว่ามันจะมีมากมายเอามาทำป้ายหรือทำอะไรนะ ที่เห็นเป็นป้ายเรืองแสงมันคือ Tritium illumination ซึ่งมีสถานะเป็นก๊าซ ของ tritium อีกที
Tritium

อันดับ 4 Diamond (เพชร)

ราคา $65,000 (2,000,000บาท) ต่อกรัม
คงไม่มีข้อสงสัยใดๆเกี่ยวกับเพชรอีกแล้วเรื่องราคาและความสวยงาม แม้ไม่ได้เป็นอัญมณีที่หายากที่สุดในโลกแต่เพชรเป็นอัญมณีที่มีราคาแพงที่สุดในโลก นอกจากนั้นแล้วเพชรยังเป็นสสารที่แข็งที่สุดในโลกซึ่งถูกนำมาใช้ในอุตสหกรรมตัดและเจียรวัตถุ
diamond

อันดับ 3 Painite

ราคา $50,000 – $600,000 (1,500,000 – 18,000,000 บาท) ต่อกระรัต
The Guinness Book รายงานว่า Painite เป็นอัญมณีที่หายากที่สุดในโลก โดยผู้ค้นพบคือ Arthur Pain นักแร่วิทยาชาวประเทศอังกฤษ ค้นพบเมื่อปี 1950 พบใน ประเทศพม่าและประเทศอินโดนีเซียเท่านั้น  มีสีตั้งแต่ชมพูจนถึงน้ำตาล มักมีสีน้ำตาลของเหล็กปนในตัวมัน ตั้งแต่การค้นพบมา 60 กว่าปีที่แล้ว เพิ่งสามารถเจอชิ้นที่สามารถนำมาเจียระนัยได้เพียงแค่ 2 ชิ้น
Painite

อันดับ 2 Californium-252

ราคา $27 ล้าน (800 ล้านบาท) ต่อกรัมแคลิฟอร์เนียมค้นพบโดย S.G. Thompson, A. Ghiorso, K. Street และ G.T. Seaborg ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1950 จากผลิตผลที่เกิดจากการระดมยิง 242Cm ปริมาณเล็กน้อย (ไม่ถึงไมโครกรัม) ด้วยฮีเลียมอิออน โดยใช้ไซโคลตรอนขนาด 60 นิ้ว ที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย เมือง Berkeley นักวิทยาศาสตร์เหล่านี้สามารถแยกธาตุใหม่นี้ออกมาได้โดยวิธีการแลกเปลี่ยนอิออน  แคลิฟอร์เนียมถูกใช้ในการวิเคราะห์หาปริมาณน้ำและชั้นของ น้ำมัน) ใช้เป็นแหล่งนิวตรอนในการสำรวจโลหะ เช่น ทองคำหรือเงิน เป็นต้น จึงทำให้มีราคาสูงมาก ตั้งแต่ทศวรรษที่ 50 จนถึงปัจจุบัน สังเคราะห์ได้รวมทั้งสิ้น 8 กรัม
Californium

อันดับ 1 Antimatter หรือ ปฏิสสาร 

ราคา $62.5 ล้านล้าน (1,800 ล้านล้านบาท) ต่อกรัมแล้วก็มาถึงสสารที่แพงที่สุดในโลก แต่มันก็เป็นเพียงการประมาณจากทฤษฏีเท่านั้นเอง ซึ่งก็คือ Antimatter หรือ ปฏิสาร และก็ยังไม่มีจริงในโลกหรอก มันเป็นเพียงแนวคิดทางฟิสิกส์ ที่ระบุว่าปฏิสารคืออนุภาคที่มีคุณสมบัติเหมือนอนุภาคปรกติ  เช่น อิเล็กตรอน โปรตน แต่มีประจุตรงข้าม นักวิทยาศาสตร์ได้คาดคะเนเอาไว้ว่าหากจะผลิตปฏิสาร 1 กร้มต้องใช้เงินประมาณ 62.5 ล้านล้านเหรียญ หรือ ,1800 ล้านล้านบาท หรือเป็นเงินงบประมาณแผ่นดินของประเทศไทย 700 ปี 
Antimatter

วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เครื่องวัดความชื้นไม้ Wood moisture tester


วัดความชื้นไม้ ต้นไม้ หนังสือ กระดาษ บรรจุภัณฑ์ กล่อง พื้น ไม้แกะสลัก 
วัสดุก่อสร้าง ฯลฯ

วัดความชื้นไม้ ต้นไม้ หนังสือ กระดาษ บรรจุภัณฑ์ กล่อง พื้น ไม้แกะสลัก 
วัสดุก่อสร้าง ฯลฯ
Specifications :
Range   :  0 to 99.9%
Measurement methods  DC resistance method
Probe Length  0.4 "(10mm)
Auto-off time  About 15 minutes
Normal operating ambient temperature range  32 to 104 ? F  (0 to 40 ? C )
Normal Operating humidity range  <85% 
Powered by  1 X 9V 6F22  battery 
Size  145 X 67 X 32mm (5.7 "x 2.6" x 1.3 ")
Weight  200g (7.0 oz)
Tree Chart  Packet  Species
A  :  Teak ,  walnut ,  white virgin ,  rubber trees ,  cork
B  :  Cloning ,  poplar ,  beech ,  cedar , 
C  :  Meranti ,  ash ,  elm ,  fir ,  maple ,  rosewood ,  oak ,  cherry
D  :  Linden wood ,  larch ,  birch







วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559

วิธีสำหรับการปฏิบัติการแก้ไขข้อบกพร่อง (CAR)

โดยทั่วไปปัญหา โลกแตกสำหรับองค์กรที่เพิ่งเริ่มต้นจัดทำระบบการจัดการไม่ว่าจะเป็น ระบบการจัดการด้านคุณภาพ (ISO 9001:2000) หรือระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม (ISO 14001:2004)  และ ระบบการจัดการด้านอื่นๆนั้นก็คือ การแก้ไขสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด(CAR) ไม่เป็นหรือไม่รู้จะแก้ไขอย่างไร?   หรือแก้ไขแล้วไม่ถูกต้องบ้าง หรือแก้ไขแล้วแก้ไขอีกไม่รู้จักจบ จักสิ้นสักที   ซึ่งจากปัญหาดังกล่าวเราจึงต้องมาทำความเข้าใจในกระบวนการปฏิบัติการแก้ไข ข้อบกพร่อง (CAR) กัน ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจในคำศัพท์ต่างๆที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
CAR ย่อมาจากคำว่า " Corrective Action Request " หมายถึง การร้องขอให้องค์กรการแก้ไขข้อบกพร่อง หรือความไม่สอดคล้อง หรือความไม่เป็นไปตามข้อกำหนดที่เกิดขึ้น(แล้วแต่จะเรียก)Corrective action ( การปฏิบัติการแก้ไข) ตามคำนิยามศัพท์ ของมาตรฐาน ISO 9000:2000 บัญญัติไว้ว่า "action to eliminate the cause of a detected nonconformity"   (3.15) หมายถึง การปฏิบัติการเพื่อขจัดสาเหตุของความบกพร่อง หรือความไม่สอดคล้องCorrective action ( การปฏิบัติการแก้ไข) ตามข้อกำหนดมาตรฐาน ISO 9001:2000 ข้อที่ 8.5.2 กำหนดไว้ว่า " องค์กรต้อง ทำปฏิบัติการปฏิบัติการแก้ไขเพื่อขจัดสาเหตุของความบกพร่อง เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำอีก การแก้ไข ต้อง เหมาะสมกับผลกระทบของความบกพร่องต่างๆที่ประสบอยู่"
จะเห็นได้ว่าจากความหมายดังกล่าว จะมุ่งเน้นให้การปฏิบัติการแก้ไข เพื่อที่ขจัดสาเหตุของความบกพร่อง และซึ่งป้องกันการเกิดซ้ำของความบกพร่องอีกครั้งด้วย ซึ่งในกระบวนการ " การปฏิบัติการแก้ไข" นั้น จำเป็นจะต้องประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอนต่อไปนี้
การวิเคราะห์หาสาเหตุของความบกพร่อง หรือความไม่เป็นไปตามข้อกำหนดการปฏิบัติการแก้ไขความบกพร่อง หรือความไม่เป็นไปตามข้อกำหนดการป้องกันความบกพร่อง หรือความไม่เป็นไปตามข้อกำหนดไม่ให้เกิดซ้ำอีก
ซึ่งจากขั้นตอนข้างต้น ตามความคิดของผู้เขียน คิดว่าขั้นตอนที่ 1 เป็นขั้นตอนที่ยากที่สุด เพราะถ้าองค์กรสามารถหาสาเหตุของความบกพร่องก็สามารถปฏิบัติการแก้ไขได้ หรือถ้าจะให้ดี หรือดีที่สุด คือการสามารถเข้าถึงหรือหาต้นตอ ( Root cause) ของความบกพร่องได้ก็จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดเพราะว่าจะสามารถแก้ไขความบกพร่องได้อย่างถาวร และตรงกับต้นตอของปัญหาที่แท้จริง เพราะฉะนั้นการปฏิบัติการแก้ไขจึงต้องเริ่มต้นในการค้นหาสาเหตุของความ บกพร่อง

ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์หาสาเหตุของความบกพร่อง

โดยส่วนใหญ่วิธีการค้นหาสาเหตุของความบกพร่องมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ซึ่งทางผู้เขียนขอยกตัวอย่างแนวทางในการค้นหาสาเหตุของความบกพร่องวิธีง่ายๆ มานำเสนอ คือวิธีการระบบสมอง ( Brain storm) หรือเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า " สุ่มหัว" เพื่อรวบรวมความคิดเห็นของ    ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง นำมาหาสาเหตุของความบกพร่อง และเพื่อเป็นการรวบรวมความคิดเห็นอย่างเป็นระบบก็สามารถนำกลวิธีทางสถิติ ง่ายๆ มาช่วยได้แก่ แผนภูมิก้างปลา (Fish Bone Diagram) หรือ แผนภูมิอิชิคาวา (Ishikawa Diagram)   หรือแผนภูมิเหตุและผล ( Cause and Effect diagram) แผนถูมิเดียวกันแล้วแต่จะเรียก โดยมีหลักการว่าเป็นแผนภูมิที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะทาง คุณภาพ ผล และเหตุ กล่าวคือ ผล หมายถึง ความบกพร่องที่เราจำเป็นต้องแก้ไข ส่วนเหตุนั้น หมายถึง องค์กรประกอบต่างๆที่มีอิทธิพลต่อผล และองค์ประกอบหรือสาเหตุหลักพื้นฐานโดยทั่วไป มักจะใช้ 4M ได้แก่
M1= Man ( คนหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง),
M2 = Machine ( เครื่องจักร อุปกรณ์),
M3 = Material ( วัตถุดิบ) และ
M4 = Method ( วิธีการ) เพื่อนำมาระบุสาเหตุของความบกพร่องและใช้ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์หาสาเหตุ ของความบกพร่องแบบ "Why Why analysis" คือ การตั้งคำถาม" ทำไม?" ถึงความบกพร่องเกิดขึ้น เพื่อหาสาเหตุของการเกิดเบื้องต้น และถามทำไมต่อไปอีกเรื่อยๆ เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง แต่จะต้องระวังว่า การตั้งคำถามว่า " ทำไม?" ขึ้นมาเพื่อหาหาสาเหตุของความบกพร่อง ไม่ใช่ตั้งคำถามมาเล่นๆหรือสนุกๆเพราะจะทำให้เสียเวลาและไม่ได้คำตอบ (สาเหตุของความบกพร่อง) ที่แท้จริง และนอกจากนั้นผู้ที่จะถามและตอบ โดยใช้หลักการนี้จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และเกี่ยวข้องกับความบกพร่องนั้น จริงๆ เพราะจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นจริง
ตัวอย่าง สมมุติว่า องค์กรมีข้อบกพร่อง ( CAR) เกี่ยวกับการไม่ได้ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ เช่น ไม่ได้ทำการตรวจสอบคุณภาพของสินค้าขั้นตอนสุดท้าย ตามที่กำหนดไว้ เป็นต้น
วิธีการปฏิบัติการแก้ไขความบกพร่อง( CAR) ก็จะเริ่มจากขั้นตอนที่ 1 คือ การหาสาเหตุของความบกพร่องตามหลักการที่กล่าวมาแล้วข้างต้น โดยการระดมความคิด กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความบกพร่อง ประมาณ 3-5 คนเพราะถ้ามากไปหรือถ้าน้อยไปกว่านี้ก็ไม่ดีเพราะจะเสียเวลาและรวบรวมความคิดยาก เช่น ผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ ( อาจจะเป็น QC, QA หรือ Inspector)  หัวหน้าผู้ตรวจสอบ, ผู้ที่การผลิต และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง จากนั้นก็มาประยุกต์ใช้แผนภูมิก้างปลาเพื่อระบุสาเหตุของความบกพร่อง
แนวทางในการตั้งคำถามตามองค์ประกอบต่างๆ ตัวอย่าง องค์ประกอบ M1 = Man คือกำลังจะค้นหาสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับคน เช่น
คำถามว่า " ทำไม? เจ้าหน้าที่ถึงไม่ได้ตรวจสอบ" คำตอบที่ได้ก็คือ ไม่รู้บ้าง, ลืมบ้าง, ตรวจไม่ทันบ้างหรืออื่นๆ
คำถามว่า " ทำไม? เจ้าหน้าที่ถึงไม่รู้" คำตอบที่ได้ก็คือ " ไม่ได้รับการฝึกอบรม" หรือ " อบรมแล้วแต่ไมเข้าใจ"
คำถามว่า " ทำไม? เจ้าหน้าที่ถึงไม่ได้รับการฝึกอบรม" คำตอบที่ได้ก็คือ " เป็นพนักงานใหม่" หรือ
" ไม่รู้ว่าจะต้องอบรม" หรือ " ไม่มีการกำหนดจำเป็นในการฝึกอบรม" หรืออื่นๆ เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าถ้าเราตั้งใจตั้งคำถามจากคำตอบที่ได้ว่าเรื่อยๆ เราก็จะได้คำตอบที่เป็นสาเหตุของความบกพร่องที่แท้จริงได้   แต่จากตัวอย่างข้างต้นนี้เป็นเพียงแค่ 1 ในองค์กรประกอบหลักเท่านั้น
ยังเหลืออีกหลายองค์ประกอบหลัก ที่เราจะต้องลองค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของความบกพร่อง ซึ่งใน 1 อาจจะมีหลายสาเหตุก็ได้ เพราะฉะนั้นการกำหนดแนวทางการในการแก้ไขความบกพร่องจึงจำเป็นจะต้องแก้ไขให้ ครบทุกสาเหตุของความบกพร่องที่เกิดขึ้นนั้นเอง

ขั้นตอนที่ 2 การปฏิบัติการแก้ไขความบกพร่อง

หลังจากที่เราทราบสาเหตุของความบกพร่องที่แท้จริงและครบถ้วนทุกสาเหตุของความบกพร่องแล้ว ก็เข้ามาสู่กระบวนการในการปฏิบัติการแก้ไขตามสาเหตุที่แท้จริง ที่ได้มาจากขั้นตอนที่ 1 ซึ่งโดยทั่วไปแล้วรูปแบบของสาเหตุของความบกพร่องก็มักจะคล้ายๆกันก็คือ
ไม่มีการกำหนดไว้บ้างมีการกำหนดไว้แต่ไม่ครบถ้วนหรือไม่เหมาะสมบ้างกำหนดไว้ครบถ้วนหรือเหมาะสมแต่ไม่ได้นำไปปฏิบัติบ้าง
ส่วนแนวทางในการปฏิบัติการแก้ไข
ถ้าไม่มีการกำหนดไว้   ก็ให้กำหนดไว้ครบถ้วนทั้งผู้รับผิดชอบ วิธีการ ระยะเวลา หรือสถานที่สำหรับการปฏิบัติและการทวนสอบ เป็นต้น
ถ้ามีการกำหนดไว้แต่ไม่ครบถ้วนหรือไม่เหมาะสม   ก็ให้ทำการทบทวนให้เหมาะสมและเพียงพอตรงกับสถานการณ์ ที่เป็นอยู่ ณ.ปัจจุบัน
ถ้ามีการกำหนดไว้ครบถ้วนหรือเหมาะสมแต่ไม่ได้นำไปปฏิบัติ โดยใช้หลัก 3 E
E ducation     คือการให้ความรู้ ความเข้าใจ ในความสำคัญและความจำเป็นในการนำไปปฏิบัติ E ngineering   คือการกำหนดกลไก หรือประยุกต์ใช้เครื่องจักร อุปกรณ์   จิ๊ก ฟิกเจอร์   เครื่องมือป้องกันความผิดพลาด ( Pokayoke )   ระบบเซ็นเซอร์ หรือระบบอินเตอร์ล็อคต่างๆเข้ามาช่วยเตือนให้ปฏิบัติ E nforcement คือการออกกฎข้อบังคับ หรือกฎระเบียบต่างๆ เพื่อให้เกิดความตระหนักในการปฏิบัติ (ซึ่งเป็นทางเลือกสุดท้าย ที่ไม่ควรเลือกใช้)

ขั้นตอนที่ 3 การป้องกันความบกพร่องไม่ให้เกิดซ้ำ

เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการปฏิบัติการแก้ไข
เพื่อความบกพร่องจะไม่ได้กลับมาเกิดซ้ำอีก โดยแบ่งออกเป็น 2 แนวทาง คือการขยายผล และการทวนสอบ
การขยายผล คือ การนำแนวทางในการปฏิบัติการแก้ไขขยายผลไปสู่พื้นที่ กระบวนการ กิจกรรม ผลิตภัณฑ์ ที่ใกล้เคียงกับความบกพร่องที่เกิดขึ้น เพื่อปัญหาจะไม่กลับมาเกิดขึ้นอีกการทวนสอบ คือ การกำหนดมาตรฐาน วิธีการ หรือระยะเวลามาติดตามความคืบหน้า ของการนำไปปฏิบัติให้ต่อเนื่อง หรือกำหนดเป็นมาตรฐานในการทำงานอย่างถาวร
จากขั้นตอนในการปฏิบัติการแก้ไขทั้ง 3 ขั้นตอน เป็นเพียงแค่ตัวอย่างแนวทางในการปฏิบัติการแก้ไขความบกพร่อง (CAR) เท่านั้น ส่วนการนำไปประยุกต์ใช้ขึ้นอยู่สถานการณ์ และความบกพร่องที่เกิดขึ้นซึ่งอาจจะไม่เหมือนกับสถานการณ์ที่สมมุติขึ้น

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เทคนิค การออมเงินอย่างฉลาด

เทคนิค การออมเงินอย่างฉลาด

การออมเงินถือเป็นจุดเริ่มต้นสู่ความมั่งคั่งร่ำรวยและอิสรภาพทางการเงิน เงินออมแต่ละบาทที่เราเก็บสะสมไว้เปรียบเสมือนเมล็ดพันธ์แห่งความมั่งคั่งที่จะค่อยๆเติบโต พลังเงินออมจะดึงดูดเงินมาให้เราเพิ่มขึ้น ทำให้เรามีเงินจำนวนมากขึ้น การเก็บออมเงินนอกจากจะทำให้เรารู้สึกภาคภูมิใจในตนเองและเห็นคุณค่าในตัวเองยิ่งขึ้นแล้ว ยังนำไปสู่การมีอิสรภาพในชีวิตอีกด้วย
การออมเงินอย่างฉลาดนั้น มีวิธีที่ง่ายดายมาก ไม่ต้องใช้อะไรที่ซับซ้อนเลยแม้แต่น้อย อะไรที่ยิ่งง่ายยิ่งจะนำพาให้ชีวิตเราง่ายตามไปด้วย ความร่ำรวยก็เช่นกัน เทคนิคการออมเงินอย่างฉลาด มีดังนี้
1) สูตรการออมเงินที่ได้ผลมากที่สุดคือ รายได้-เงินออม รายจ่าย พูดง่ายๆก็คือให้หักเงินออมออกก่อนที่นำไปใช้จ่ายโดยไม่ต้องไปแตะเงินออมนั้นอีก เราจะไม่เห็นเงินออม เราจะมีเงินเหลือและใช้เท่าที่เหลือนั้น วิธีนี้ได้ผลมากที่สุดเพราะเราสามารถกำหนดได้ว่าเราจะออมกี่เปอร์เซ็นต์ของรายได้ ผมแนะนำว่าขั้นต่ำการออมเงินไม่น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์
2) วิธีการออมเงินอย่างฉลาดอีกวิธีคือ ทุกครั้งที่ใช้จ่ายให้หักเก็บเงินไว้เป็นเงินออม 10 เปอร์เซ็นต์ เช่นเราซื้อสินค้าชิ้นหนึ่งจำนวน 2,000 บาท เราก็หักเงินเก็บ 200 บาท ใส่บัญชีเงินออมทันที ทุกครั้งที่ใช้จ่ายเงินมากเราก็จะมีเงินออมมากไปด้วย
3) เก็บสะสมธนบัตรแบ๊งก์ 50 บาททุกครั้งที่ได้รับ หรือเก็บธนบัตรที่มีเลขลงท้ายด้วย 99 เป็นต้น การออมโดยวิธีนี้จะทำให้เรามีความใส่ใจเงินมากยิ่งขึ้น ทุกครั้งที่ได้รับธนบัตรเราต้องดูก่อน หากเป็นธนบัตรที่เราต้องการเราจะเก็บไว้โดยไม่ใช้มันอีกเลย หาที่เก็บให้เหมาะสม พอครบสิ้นเดือนนำไปฝากธนาคาร รับรองว่าเงินแบงก์ที่เก็บทีละเล็กทีละน้อยนี้แหละที่สร้างเศรษฐีมานักต่อนักแล้ว

4) การออมเงินอย่างฉลาดอีกวิธีคือ การตั้งเป้าหมายในการเก็บออมเงินไว้ เช่น ต้องการเก็บเงินจำนวน 100,000 บาท ภายในเดือนมกราคม 2560 นี้ เพื่อนำไปลงทุนสร้างสินทรัพย์ หรือสร้างธุรกิจส่วนตัวเป็นต้น อย่าดูดถูกพลังของการตั้งเป้าหมายเด็ดขาด การเก็บออมเงินอย่างมีวัตถุประสงค์จะทำให้เรามีพลังมากกว่าเก็บโดยไม่มีวัตถุประสงค์ เนื่องจาก เมื่อเราเปิดดูสมุดบัญชี เราจะคิดและจินตนาการถึงวันที่เราถึงเป้าหมาย และนั้นทำให้จิตใต้สำนึกทำงาน

5) พยายามคบหากลุ่มเพื่อน หรือเป็นสมาชิกกลุ่มในเฟสบุ๊กหรือไลน์ ในเรื่องเกี่ยวกับการเก็บออมเงิน เพื่อสร้างแรงจูงใจ และให้กำลังใจกันระหว่างการเก็บออมเงิน ผมเชื่อเพื่อนที่เราคบหามีส่วนสำคัญต่อการเก็บออมเงิน หากเราต้องการออมเงินแต่คบหาเพื่อนที่ใช้จ่ายเงินสิ้นเปลื้อง สุรุยสุหร่ายแล้วละก็ คงยากที่จะเก็บออมเงินได้