ตี๋น้อยแห่งบ่อทอง

ตี๋น้อยแห่งบ่อทอง
เด็กคนนี้น่ารักที่สุดในจักรวาล

วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2559



เมล่อน












ชนิดของเมล่อนจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ตามลักษณะผล คือ
1. ร็อคเมล่อน  คือ เมล่อนที่มีลักษณะของเปลือกภายนอกแข็ง มีลายขรุขระเล็กน้อย
2. เน็ตเมล่อน  คือ เมล่อนที่มีลักษณะของเปลือกภายมีลายร่างแหแผ่คลุมเปลือกด้านนอกไว้
3. เมล่อนผิวเรียบ หรือที่นิยมเรียกกันว่า แคนตาลูป
1. การเพาะเมล็ดและการอนุบาลเกล้าพันธุ์เมล่อน
- ให้นำเมล็ดพันธุ์แช่ในน้ำอุ่นนานประมาณ  4 - 6 ชม.  (จนเมล็ดจมน้ำ)
- นำเมล็ดที่แช่น้ำอุ่นมาแล้วห่อด้วยกระดาษชำระ  พรมน้ำให้พอมีความชื้นเล็กน้อยแต่อย่าให้แฉะ แล้วห่อด้วย ผ้าขนหนูที่เปียกพอหมาดๆ ห่อ และนำไปบ่มในอุณหภูมิ 28 - 34 องศาเซลเซียส บ่มนานประมาณ 24 - 36 ชม. เมล็ดเมล่อนจะเริ่มงอกรากยาวประมาณ 0.5 ซม. ก็สามารถย้ายลงวัสดุปลูกได้ การบ่มเมล็ดนั้นในช่วงที่มีอากาศเย็น อาจจะนำผ้าขนหนูที่ห่อเมล็ดนั้นไปใส่ไว้ในกระติกน้ำเพื่อรักษาอุณหภูมิให้เมล็ดอุ่นเพื่อให้เกิดการงอกได้ง่ายขึ้น
- นำเมล็ดมาฝังลงในวัสดุเพาะเกล้า โดยใช้คีมคีบเมล็ดให้ปลายเมล็ดด้านแหลมทิ่มลงไปในวัสดุเพาะ สำหรับวัสดุเพาะที่นิยมใช้ในการเพาะเมล่อนคือ  พีทมอส เนื่องจากคุณสมบัติที่ดูดซับความชื้นได้ดี มีความร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี และยังมีธาตุอาหารพืชอยู่ด้วยทำให้เมล่อนที่เพาะด้วยวัสดุปลูกนี้มีความแข็งแรง และเจริญเติบโตได้ดี 
- รดน้ำเช้า - เย็นให้พอชุ่มวัสดุเพาะ  ประมาณ 3 - 5 วัน เมล็ดจะดันตัวออกมาจากวัสดุเพาะ ให้เราอนุบาลเกล้าไปประมาณ 14 - 20 วัน ต้นเกล้าจะมีใบจริงประมาณ 2 - 3 ใบ ก็สามารถย้ายลงปลูกได้
2. การย้ายปลูก
- เตรียมถุงปลูกขนาด 10 - 12 นิ้ว นำวัสดุปลูก ขุยมะพร้าว จำนวน 2 ส่วน, ทรายหยาบ 1 ส่วน, แกลบดิบ 1 ส่วน ผสมกันแล้วใส่วัสดุปลูกลงถุงปลูก
- รดน้ำให้วัสุดปลูกชุ่ม และแช่น้ำค้างลงในจานรองกระถางไว้ประมาณ 1 - 2 วันก่อนปลูก
- ก่อนปลูกให้ใช้น้ำรดวัสดุปลูกอีกครั้งเพื่อล้าง สารแทนนินในขุยมะพร้าวออก (เนื่องจากสารแทนนินในเปลือกมะพร้าวถ้ามีมากไปจะมีผลต่อรากพืช)
- นำต้นเกล้าเมล่อนที่อนุบาลมาได้ประมาณ 14 - 20 วัน ย้ายลงปลูกในกระถาง โดยระหว่าง 1 สัปดาห์แรกของการย้ายปลูกให้เมล่อนได้รับแสงในช่วงเช้าหรือเย็นประมาณ 5 - 6 ชั่วโมงต่อวัน (หลีกหลี่ยงแสงแดดที่แรงเกินไปในช่วงกลางวันหรือบ่าย)
- รดน้ำวันละ 2 ครั้ง คือ เช้า-เย็น และเพิ่มการให้น้ำเป็น 4 ครั้งต่อวันเมื่อแตงติดลูกแล้ว
- ปริมาณการให้ปุ๋ยจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วงคือ
1. ช่วงเจริญเติบโตให้ ปุ๋ย A,B ที่มีปริมาณ  N = 150 - 200 mg./L.  และ P = 30 -50 mg./L. และ P = 150 - 200 mg./L.
2. ช่วงพัฒนาผล จะลดปริมาณไนโตรเจนลงเล็กน้อย ประมาณ และเพิ่ม K ขึ้น โดยปรับ K เพิ่มเป็น 250 - 300 mg./L. ในระหว่างนี้ให้เสริม C เป็นระยะเพื่อป้องกันผลแตกและภาวะการขาดแคลเซียม อัตราส่วนการใช้ C 
อยู่ที่ประมาณ 200 - 300 mg./L.
- ประมาณ 1 สัปดาห์ก่อนเก็บเกี่ยวลดการให้น้ำลงเพื่อป้องกันผลแตงแตก และเป็นการเพิ่มความหวานให้กับแตงมากขึ้น
3. การทำค้างให้ต้นเมล่อน- ให้ใช้เชือกผูกกับคานสูงประมาณ 1.8 ม. - 2 ม. ขึงเชือกเป็นแนวดิ่งลงพื้น ให้ตรงกับกระถางปลูกเพื่อใช้พยุงลำต้นเมล่อน

- ให้ใช้เชือกผูกหลวมๆ  ใต้ข้อใบเมล่อนเพื่อพยุงให้ต้นเมล่อนไม่ล้ม (ผูกข้อเว้นข้อ ขึ้นไปตามแนวเชือก)


4. การตัดกิ่งแขนง , การตัดยอด, การตัดใบ
- เมื่อเมล่อนอายุได้ประมาณ 30 วัน จะมีกิ่งแขนงงอกออกมาจากข้อใบแต่ละข้อ ให้เราเด็ดกิ่งแขนง ที่งอกออกมาระหว่างใบทิ้งให้หมด โดยนับจากข้อใบที่ 1 ถึงข้อใบที่ 7  (แนะนำให้เด็ดในช่วงเช้า) เนื่องจากกิ่งแขนงจะอิ่มน้ำ จะเด็ดง่ายและไม่ทำให้เมล่อนบอบช้ำมาก
- ให้ไว้กิ่งแขนงที่งอกออกมาจากข้อใบที่ 8 - 12 ไว้เพื่อให้เมล่อน สร้างดอกตัวเมียและติดผลในกิ่งแขนงดังกล่าว
- เมื่อเมล่อนมีข้อใบได้ประมาณ 25 ข้อ ให้เราตัดยอดเมล่อนทิ้งเพื่อให้ สารอาหารมาเลี้ยงเฉพาะผล และลำต้นที่เหลือ
- ให้เด็ดใบล่างของเมล่อน ที่ไม่ได้รับแสงออกไปประมาณ 3 - 4 ใบ เพื่อป้องกันเชื้อรา และแมลงที่อาจมารบกวนได้
- ให้ตัดปลายกิ่งแขนงที่ทำการผสมดอกและเมล่อนติดผลแล้วในกิ่งนั้นออก โดยให้เหลือใบเลี้ยงที่กิ่งแขนงประมาณ 2 - 3 ใบ
5. การผสมเกสรและการไว้ผลเมล่อน
- เมื่อเมล่อนสร้างดอกตัวเมียที่กิ่งแขนง ลักษณะของดอกตัวเมียจะดูได้จากฐานรองดอกจะมีลักษณะกลมรี เป็นกระเปราะเห็นชัดเจน  เมื่อวันที่ดอกตัวเมียบานให้เราช่วยต้นเมล่อนในการผสมเกสรดอก โดยให้เด็ดดอกตัวผู้ (ดอกตัวผู้มักเกิดที่ข้อใบแต่ละข้อ) ออกมาแล้วดึงกลีบดอกออกให้หมด แล้วนำช่อเกสรดอกตัวผู้ที่อยู่ด้านใน มาเขี่ยกับเกสรของดอกตัวเมีย
- การผสมเกสรแนะนำให้ทำในช่วงเช้าที่ดอกบาน ประมาณ 6.00 - 10.00 น. ซึ่งเวลาดังกล่าวดอกตัวเมียจะพร้อมที่สุดต่อการผสมเกสร หากเกินเวลาดังกล่าวกลีบดอกตัวเมียจะหุบและเฉาไป
- การผสมดอกตัวเมีย 1 ดอกจะใช้ดอกตัวผู้ประมาณ 3 ดอก ในการผสม
- เมื่อผสมเกสรดอกแล้วให้เราจดวันที่ผสมเกสรไว้แล้วแขวนป้ายวันที่ผสมไว้ที่ดอกนั้นด้วย เพื่อช่วยในการนับ
อายุผลของเมล่อนเพื่อการเก็บเกี่ยวต่อไป
- เมล่อนเป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก ยิ่งในช่วงที่มีการพัฒนาผล  ให้เรารดน้ำ 3 เวลา คือเช้า-กลางวัน-เย็น
- เมล่อนเมื่อผสมเกสรไปแล้วประมาณ 1 สัปดาห์ผลจะเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น เราต้องมีการผูกเชือกเพื่อทำการแขวนผล โดยให้เราใช้เชือกทำเป็นบ่วงคล้องที่ขั้วผล เพื่อรับน้ำหนักผลเมล่อนที่จะเพิ่มมากขึ้น
- หากปลูกนอกโรงเรือนแนะนำให้ห่อผลด้วยถุงกันแมลง เพื่อป้องกันแมลงศัตรูพืชมาเจาะทำลายผล
- การให้ปุ๋ยนั้นในช่วงการพัฒนาผลนั้น ให้เราใช้ปุ๋ย A,B ในอัตราส่วน 2.5 ซีซี / น้ำ 1 ลิตร และใช้ปุ๋ย K เสริมเพื่อให้ผลเมล่อนมีการสะสมแป้ง เพื่อพัฒนาให้เกิดความหวานมากขึ้น อัตราส่วนการใช้ K คือ 150 ถึง 200 มิลลิกรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร (2 ซีซี / น้ำ 1 ลิตร) ฉีดพ่นทางใบ หรือเติมในระบบปลูกทุกๆ 5 - 7 วัน
6. การเก็บเกี่ยว
- การเก็บเกี่ยวเมล่อนส่วนใหญ่เราจะนับอายุของผลเป็นหลัก ขึ้นอยู่กับชนิดและสายพันธุ์ของเมล่อนที่ปลูก โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 55 - 60 วัน หลังวันดอกบาน หรือวันที่ผสมเกสร 
- เมล่อนบางชนิดจะมีลักษณะพิเศษเห็นชัดเจนเมื่อผลสุกพร้อมเก็บ คือ มีรอยแตกที่ขั้วผลประมาณ 40 - 50%  บางชนิดจะมีกลิ่นหอมออกมาจากผล
- เมล่อนที่มีคุณภาพดี จะต้องมีความหวานอย่างน้อย 14 องศาบริกซ์ขึ้นไป หรือไม่ควรต่ำกว่า 12 องศาบริกซ์ ก่อนการเก็บเกี่ยวเมล่อนประมาณ 1 สัปดาห์ ให้เราเริ่มลดปริมาณการให้น้ำต้นเมล่อนลง โดยสังเกตุที่ใบเมล่อนจะเริ่มเหี่ยวลงในช่วงกลางวัน การทำเช่นนี้เพื่อเร่งให้เมล่อนเร่งกระบวนการเปลี่ยนแป้งที่สะสมในผลให้เป็นน้ำตาล เพื่อเป็นการเพิ่มความหวานของผลให้มากขึ้น

* การทานเมล่อนให้อร่อยหลังเก็บเมล่อนมาแล้วให้ทิ้งผลไว้ที่อุณหภูมิปกติ จนขั้วผลแห้งและสามารถดึงหลุดออกมาได้ก่อน ก่อนรับประทานให้ปฎิบัติดังนี้
1. ล้างผลเมล่อนให้สะอาด ผึ่งให้แห้ง
2. นำผลเมล่อนใส่ในตู้เย็น (ช่องแช่ผัก) ทิ้งไว้ประมาณ 3 - 4 ชั่วโมง

3. นำผลเมล่อนมาผ่าออกเป็น 6 - 8 ซีก
4. เขี่ยเมล็ดออก โดยไม่ต้องปาดไส้ในทิ้ง (เพราะส่วนที่อร่อยที่สุดของเมล่อนคือส้วนเนื้อด้านในสุด)
5. ใช้มีดปาดเนื้อให้ห่างจากเปลือกประมาณ 1 เซนติเมตร หรือจะใช้ช้อนตักทานเลยก็ได้ครับ

โรคและแมลงศัตรูของเมล่อน
1. โรคเหี่ยวจากเชื้อรา (Fusarium Wilt) เป็นโรคที่เกิดกับพืชตระกูลแตงอย่างกว้างขวาง มีหลายเชื้อ

เชื้อสาเหตุ : 
Fusarium oxysporum f.sp. melonis : เป็นเชื้อสาเหตุ ของโรคเหี่ยวที่พบในเมล่อน ซึ่งจะมี 4 ชนิดเชื้อ (races)

ลักษณะอาการ : 
เชื้อสาเหตุเข้าสู่ต้นพืชทางราก ในระยะต้นอ่อนใบเลี้ยงจะเหี่ยว เปลี่ยนเป็นสีเหลือง ร่วง พืชแสดงอาการเหี่ยวเฉาจากส่วนยอดลงมา ส่วนของเถาของต้นที่โตแล้วจะแสดงอาการใบล่างเหลืองโดยอาการเริ่มต้นแสดงหลายอย่างเช่น ต้นแตก เกิดอาการเน่าที่โคนและซอกใบ ถ้าเกิดอาการเน่า และพบเชื้อราสีขาวบริเวณรอยแตก หลังจากนั้นพืชจะแสดงอาการเหี่ยวและตาย

การป้องกันกำจัด• ปรับสภาพความเป็นกรด – ด่าง ของดินปลูกให้เหมาะสมคืออยู่ที่ pH 6.5
• ใส่ปุ๋ยไนเตรท และไนโตรเจน จะสามารถลดความรุนแรงของโรค
• ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน
• ถอนต้นที่เป็นโรค(เผา)ทิ้ง และป้องกันโรคโดยการใช้สารจุลินทรีย์ เช่น ไตรโคเดอร์มา
• ใช้ เบนเลทผสม แคปแทน หรือ เทอร์ลาคลอร์ ราดโคนก่อนปลูกและหลังปลูก 15 วัน
2. โรคต้นแตกหรือยางไหล ( Gummy Stem Blight )  

เชื้อสาเหตุ : Mycosphaerella melonis ( Didymella bryoniae )
เป็นโรคที่มีการระบาดอย่างกว้างขวางในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อน เป็นโรคที่ติดสามารถติดมากับเมล็ดพันธุ์ โรคนี้จะเข้าทำลายพืชทางแผลที่ใบและลำต้น โรคต้นแตกยางไหลจะระบาดรุนแรงในสภาพแปลงปลูกที่มีอุณหภูมิและความชื้นสูง หรือสภาพของแปลงที่มีอุณหภูมิกลางคืนต่ำ และมีความชื้นสูง

ลักษณะอาการ : อาการที่แสดงในใบแก่ แผลจะมีลักษณะกลม สีน้ำตาลอมแดง หรือมีสีดำ ขนาดประมาณ 5 มิลลิเมตร รอบแผลจะมีสีเหลือง หลังจากนั้นแผลจะฉีกขาดหรือร่วง อาการเริ่มแรกจะปรากฏที่ขอบใบและขยายเข้าไปที่ส่วนกลางของใบ การเข้าทำลายส่วนของลำต้น อาการที่ปรากฏคือ จะมีแผล เชื้อสาเหตุจะสร้างเมือกเหนียวสีน้ำตาล หรือน้ำตาลอมแดง

การป้องกันกำจัด: การป้องกันและกำจัดสามารถทำได้ดังต่อไปนี้คือ
• การปลูกพืชหมุนเวียน
• ใช้พันธุ์ต้านทานโรค
• ใช้สารเคมีฉีดพ่นเช่น อ็อกเทพ โนมิลดิว ไดแทน เอ็ม - 45, บราโว , เทอร์รานิล หรือ เอคโค



3. โรคราแป้ง ( Powdery Mildew ) 


เชื้อสาเหตุ : Erysiphe cichoracearum De candolle
Sphaerotheca fuliginea : เป็นเชื้อสาเหตุของราแป้งในเมล่อน

การแพร่กระจาย : โดยทั่วไปจะมีการแพร่กระจายโดยลม จะระบาดอย่างกว้างขวางในสภาพที่มีอุณหภูมิสูง ความชื้นสัมพัทธ์ 50 – 90 % ความเข้มของแสงต่ำ มีน้ำค้างและมีการปลูกพืชในอัตราที่จำนวนต้นสูงจนเกินไป อย่างไรก็ตามโรคราแป้งสามารถที่จะระบาดได้ดีภายใต้สภาพการปลูกที่ไม่มีน้ำค้างได้เช่นเดียวกัน

ลักษณะอาการ : เชื้อสาเหตุเข้าทำลายพืชตระกูลแตงทุกชนิด ลักษณะอาการขั้นต้น จะปรากฏเป็นจุดเหลืองอ่อนที่ ลำต้น ยอดอ่อน ทั้งด้านบนและด้านล่างของใบ เมื่อแผลมีการขยายใหญ่ขึ้น จะมี สปอร์ของเชื้อราสีขาวคล้ายแป้งปกคลุม หลังจากนั้นใบจะเปลี่ยน เป็นสีเหลืองอมน้ำตาลและแห้งกรอบ

 การป้องกันและการกำจัด
• การใช้สายพันธุ์ต้านทานโรค
• บาวีซาน อัตรา 10 – 20 กรัม ต่อ น้ำ 20 ลิตรฉีดพ่น
• ฉีดพ่นด้วย กำมะถัน ชนิดละลายน้ำอัตรา 30- 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดในสภาพอุณหภูมิต่ำ ในกรณีที่อุณหภูมิสูงจะมีผลให้ใบของเมล่อนใหม้
• ใช้ ทอปซิน, เบเลตันฉีดพ่นตามอัตราที่กำหนด



4. โรคราน้ำค้าง ( Downy Mildew) 


เชื้อสาเหตุ  : Pseudoperonospora cubensis ( Berkeley & Curtis ) Roslowzew
เป็นโรคที่ สำคัญของพืชตระกูลแตงในเขตร้อนและกึ่งร้อน แพร่กระจายโดยลม ฝน และเครื่องมือการเกษตร

ลักษณะอาการ :  อาการเริ่มแรกจะพบที่ใบล่าง โดยเกิดเป็นจุดสีเหลืองหรือสีน้ำตาลขนาดเล็ก แล้วขยายขนาดใหญ่ขึ้นเป็นรูปเหลี่ยมอยู่ระหว่างเส้นใบ นอกจากนี้สามารถตรวจสอบบริเวณใต้ใบโดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนเช้ามืด จะปรากฏเส้นใยเชื้อราสีขาว หรือสีเทา ใบพืชจะแห้งตายแต่ก้านใบจะชูขึ้น ขอบใบม้วน ใบจะร่วง 

การป้องกันกำจัด :
• ใช้สารเคมีฉีดพ่น โดยใช้ แทนเอ็ม 15 กรัม + โนมิลดิว 25 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นใต้ใบทุกๆ 7 วัน หากมีการระบาดรุนแรง ใช้ ลอนมิเนต 1- 2 ช้อนชาผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น ให้ทั่วทุก 7 วัน ประมาณ 2- 3  ครั้ง
• ฉีดพ่นด้วย ริดโดมิล โกล เอ็ม แซด , บราโว 82 W, เทอรานิล หรือ  เอคโค เมื่อโรคเข้าทำลาย 3- 7 วัน
• ใช้พันธุ์ต้านทาน

แมลงศัตรูที่สำคัญ

1. เพลี้ยไฟ (Thrips) 
          เป็นแมลงที่มีขนาดเล็กมากเท่าปลายเข็ม ตัวอ่อนมีสีแดง ตัวแก่เป็นสีดำ ดูดน้ำเลี้ยงที่ปลายยอดอ่อนของต้น ทำให้ยอดชะงักการเจริญเติบโต หดสั้น บิดเบี้ยว ระบาดมาในสภาพอากาศร้อนและแห้งของฤดูร้อน โดยมีลมเป็นพาหนะพาเพลี้ยไฟเคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น ป้องกันกำจัดได้ด้วยการปลูกพืชที่กันชนที่ต้านทานเพลี้ยไฟ เช่น มะระ ล้อมรอบแปลง และ ฉีดพ่นป้องกันกำจัดแมลงโดยใช้ ยาเส้น 1 ขีด ต่อน้ำ 5 ลิตร แช่ 1 คืน  ฉีดพ่นทุกๆ 3 - 7 วัน 


2. ด้วงเต่าแตง (Leaf beatle) 
          เป็นแมลงปีกแข้ง ลำตัวยาวประมาณ 1 ซม. ปีกมีสีเหลืองปนส้ม กัดกินใบแตงให้แหว่งเป็นวงๆ ถ้าระบาดและทำความเสียหายให้กับใบจำนวนมาก ให้ฉีดพ่นด้วยเชื้อราบิวเวอร์เรีย


3. หนอนชอนใบ (Leaf minor) 
          เป็นแมลงตัวเล็กที่ชอนไชอยู่ใต้ผิวใบ กัดกินเนื้อใบเป็นทางยาวคดเคี้ยวไปทั่วทั้งผืนใบ โดยทั่วไปไม่พบว่ามีการระบาดมากในพืชตระกูลแตงเท่าใดนัก แต่ในกรณีที่มีการระบาดมาก และเกิดขึ้นในระยะแรกของการเจริญเติบโตจะทำให้พื้นที่ใบเสียหายส่งผลให้กระทบกระเทือนต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตต่อไปของต้นแตงเทศ วิธีการกำจัดต้องใช้สารสกัดจากสะเดา, ยาเส้น หรือบิวเวอร์เรีย

4. แมลงวันผลไม้ (Melon fruit fly) 
          เป็นแมลงที่ทำความเสียหายแก่ผลไม้มากที่สุดชนิดหนึ่ง ตัวเมียจะวางไข่ในผลไม้ใกล้สุก ทำให้เกิดตัวหนอนชอนไชอยู่ในผล ทำให้เกิดแผล เน่าเสียราคา วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันคือการห่อผลก่อนที่ผลไม้จะสุกแก




วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2559

วัตถุที่แพงที่สุดในปฎพีนี้

อันดับ 12 ทองคำ

ราคา $38.81 (1,240 บาท) ต่อกรัม
ทองคำถูกใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณในรูปแบบของเครื่องประดับ และตัวกลางในการแลกเปลี่ยน ในปัจจุบันยังใช้อุตสาหกรรมอิเลคทรอนิคส์ และยังเป็นสสารช่วยต้านทานการกัดกร่อน มันมีอยู่ในผลิตภัณฑ์อาหารและความงามเพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้กับผู้ครอบครอง
gold

อันดับ 11 Rhodium (โรเดียม)

ราคา $45 (1,440 บาท) ต่อกรัม
โรเดียมเป็นธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 45 และสัญลักษณ์คือ Rhโรเดียมเป็นโลหะทรานซิชันสีขาวเงินที่หายากอยู่ในกลุ่มของแพลทินัม และพบในแร่แพลทินัม ใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะผสมแพลทินัม ปัจจุบันถูกใช้เป็นตัวเร่งปฏิริยาในการเผาไหม้เพื่อลดก๊าซคาร์บอนในเครื่องยนต์
Rhodium

อันดับ 10 Platinum (ทองคำขาว)

ราคา $48 (1,530 บาท) ต่อกรัม
ทองคำขาวมีราคาแพงกว่าทองคำธรรมดา ทองคำขาวหรือ Platinum เป็นธาตุเคมีที่มีเลขอะตอม 78 และสัญลักษณ์คือ Pt เป็นธาตุโลหะทรานซิชัน มีสีเงินเทา มีน้ำหนักมาก สามารถยืดและตีเป็นแผ่นได้ แพลทินัมทนต่อการกัดกร่อนมาก ในธรรมชาติพบอยู่กับสินแร่ของนิกเกิลและทองแดง ปัจจุบันแพลทินัมมีราคาสูงกว่าทองคำ 2-3 เท่า แพลทินัมสามารถใช้ทำเครื่องประดับ อุปกรณ์ในห้องทดลอง ตัวนำไฟฟ้า งานทันตกรรม และเครื่องกรองไอเสียในรถยนต์ ธาตุแพลทินัมเรียกได้อีกอย่างว่า ทองคำขาว นอกจากนั้นทองคำขาวยังถูกนำมาใช้ใส่ส่วนผสมของยาต้านโรคมะเร็ง
Platinum

อันดับ 9 นอแรด

ราคา $55 (1,760 บาท) ต่อกรัม
ใครจะเชื่อว่า “นอแรด” มีค่ามากกว่าทองคำ เพราะขายกันที่กิโลกรัมละเกือบ 2,000,000 บาท และหมายถึงชีวิตของแรด 1 ตัวอาจมีราคาถึง 8-10 ล้านบาท ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์พิสูจน์ได้ว่าการบริโภคนอแรดให้ผลทางการแพทย์ แต่ความต้องการนอแรดในตลาดเอเชีย ซึ่งยังมีความเชื่ออยู่มากว่า การบริโภคนอแรดให้ผลทางการรักษาอาการของโรคบางประเภท ความต้องการนี้ส่งผลให้ราคาซื้อขายนอแรดสูง และยังเป็นการสนับสนุนให้เกิดขบวนการล่าแรดข้ามชาติ
Rhino horn

อันดับ 8 Methamphetamine หรือ ยาไอซ์

ราคา $120 (3,600 บาท) ต่อกรัม
Amphetamine เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ปี พ.ศ. 2518 เป็นสารประกอบของยาบ้านั่นเองส่วนเมทแอมเฟตามีน (Methamphetamine) หรือยาไอซ์เป็นอนุพันธ์ซึ่งสกัดจาก แอมเฟตามีน ซึ่งมีความบริสุทธิ์มากกว่า และมีผลต่อระบบ ประสาทส่วนกลางได้รุนแรงกว่า แต่ที่น่าตลกทีสุดแล้วหากเทียบกันกรัมต่อกรัมแล้ว ยาไอซ์ แพงกว่าทองคำ และทองคำขาวซะด้วยสิ คิดง่ายๆ ราคากลางทองคำตอนนี้ 1 บาท ประมาณ 2 หมื่นบาท ถ้า 1 กิโลก็ประมาณ 66 บาท หรือประมาณ 1 ล้าน 3 แสนบาท แต่ยาไอซ์ 1 กิโลกรัม ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 3 ล้าน 6 
Methamphetamine

อันดับ 7 Plutonium (พลูโตเนียม)

ราคา $4000 (120,000บาท) ต่อกรัม
พลูโตเนียมเป็นธาตุโลหะที่มีกัมมันตภาพรังสี มีสัญลักษณ์ Pu มีเลขอะตอม 94 พลูโตเนียมเป็นวัสดุฟิชไซล์ที่ผลิตขึ้นจากยูเรเนียมธรรมชาติ เป็นธาตุที่ใช้ในการทำอาวุธนิวเคลียร์ พลูโทเนียมมีพิษที่เกิดจากการแผ่รังสีที่จะสะสมที่ไขกระดูก นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติอื่น ๆ ที่ทำให้การจัดการพลูโทเนียมเป็นเรื่องที่อันตรายมาก บางองค์กรนำเอาพลูโตเนียมมาเป็นธาตุในการสร้างพลังงานปรมณู
Plutonium 238

อันดับ 6 Taaffeite

ราคา $2,500 ถึง $20,000 (80,000 – 600,000บาท) ต่อกระรัต หรือกรัมละ 3 ล้านบาท 
Taaffeite เป็นชื่อที่มาจากนักอัญมณีวิทยาชาวออสเตรเลีย “Richard Taaffe” ซึ่งเป็นผู้ค้นพบการเจียระไนและขัดตกแต่งอัญมณี ค้นพบชนิดนี้เป็นครั้งแรกในปีค.ศ. 1945 ช่วงสีที่พบของอัญมณีชนิดนี้ อยู่ในช่วงเกือบใสไม่มีสี ไปจนถึงสีลาเวนเดอร์ สีม่วงอมน้ำเงินซีด และสีม่วงอมน้ำเงิน Taaffeite มีแหล่งกำเนิดที่ประเทศศรีลังกา และแทนซาเนีย แต่อาจจะพบจากแหล่งอื่นๆได้เช่นกัน มีการประมาณกันว่า Taaffeite หายากกว่าเพชรประมาณ 1 ล้านเท่า และถือเป็นหนึ่งในอัญมณีที่หายากและมีมูลค่าสูงที่สุดในโลกประเภทหนึ่ง แต่เนื่องจากมนุษย์ให้ราคาของเพชรมากกว่า Taaffeite จึงมีราคาถูกกว่าเพชรนิดนึง
Taaffeite2

อันดับ 5 Tritium (ทริเทียม)

ราคา $30,000 (960,000บาท) ต่อกรัม
ทริเทียม (tritium) เป็นไอโซโทปหนึ่งในสามชนิดของอะตอมไฮโดรเจน อย่าจำสับสนกับ Titanium (ไทเทเนียม) นะครับ ทริเทียมเป็นสารที่สามารถเรืองแสงด้วยตัวเองเป็นสิบๆปีโดยไมต้องดูดซับแสงใดๆ ถูกใช้เป็นสารเคลือบป้ายเรืองแสงต่างๆ แต่ก็ไม่ใช่ว่ามันจะมีมากมายเอามาทำป้ายหรือทำอะไรนะ ที่เห็นเป็นป้ายเรืองแสงมันคือ Tritium illumination ซึ่งมีสถานะเป็นก๊าซ ของ tritium อีกที
Tritium

อันดับ 4 Diamond (เพชร)

ราคา $65,000 (2,000,000บาท) ต่อกรัม
คงไม่มีข้อสงสัยใดๆเกี่ยวกับเพชรอีกแล้วเรื่องราคาและความสวยงาม แม้ไม่ได้เป็นอัญมณีที่หายากที่สุดในโลกแต่เพชรเป็นอัญมณีที่มีราคาแพงที่สุดในโลก นอกจากนั้นแล้วเพชรยังเป็นสสารที่แข็งที่สุดในโลกซึ่งถูกนำมาใช้ในอุตสหกรรมตัดและเจียรวัตถุ
diamond

อันดับ 3 Painite

ราคา $50,000 – $600,000 (1,500,000 – 18,000,000 บาท) ต่อกระรัต
The Guinness Book รายงานว่า Painite เป็นอัญมณีที่หายากที่สุดในโลก โดยผู้ค้นพบคือ Arthur Pain นักแร่วิทยาชาวประเทศอังกฤษ ค้นพบเมื่อปี 1950 พบใน ประเทศพม่าและประเทศอินโดนีเซียเท่านั้น  มีสีตั้งแต่ชมพูจนถึงน้ำตาล มักมีสีน้ำตาลของเหล็กปนในตัวมัน ตั้งแต่การค้นพบมา 60 กว่าปีที่แล้ว เพิ่งสามารถเจอชิ้นที่สามารถนำมาเจียระนัยได้เพียงแค่ 2 ชิ้น
Painite

อันดับ 2 Californium-252

ราคา $27 ล้าน (800 ล้านบาท) ต่อกรัมแคลิฟอร์เนียมค้นพบโดย S.G. Thompson, A. Ghiorso, K. Street และ G.T. Seaborg ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1950 จากผลิตผลที่เกิดจากการระดมยิง 242Cm ปริมาณเล็กน้อย (ไม่ถึงไมโครกรัม) ด้วยฮีเลียมอิออน โดยใช้ไซโคลตรอนขนาด 60 นิ้ว ที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย เมือง Berkeley นักวิทยาศาสตร์เหล่านี้สามารถแยกธาตุใหม่นี้ออกมาได้โดยวิธีการแลกเปลี่ยนอิออน  แคลิฟอร์เนียมถูกใช้ในการวิเคราะห์หาปริมาณน้ำและชั้นของ น้ำมัน) ใช้เป็นแหล่งนิวตรอนในการสำรวจโลหะ เช่น ทองคำหรือเงิน เป็นต้น จึงทำให้มีราคาสูงมาก ตั้งแต่ทศวรรษที่ 50 จนถึงปัจจุบัน สังเคราะห์ได้รวมทั้งสิ้น 8 กรัม
Californium

อันดับ 1 Antimatter หรือ ปฏิสสาร 

ราคา $62.5 ล้านล้าน (1,800 ล้านล้านบาท) ต่อกรัมแล้วก็มาถึงสสารที่แพงที่สุดในโลก แต่มันก็เป็นเพียงการประมาณจากทฤษฏีเท่านั้นเอง ซึ่งก็คือ Antimatter หรือ ปฏิสาร และก็ยังไม่มีจริงในโลกหรอก มันเป็นเพียงแนวคิดทางฟิสิกส์ ที่ระบุว่าปฏิสารคืออนุภาคที่มีคุณสมบัติเหมือนอนุภาคปรกติ  เช่น อิเล็กตรอน โปรตน แต่มีประจุตรงข้าม นักวิทยาศาสตร์ได้คาดคะเนเอาไว้ว่าหากจะผลิตปฏิสาร 1 กร้มต้องใช้เงินประมาณ 62.5 ล้านล้านเหรียญ หรือ ,1800 ล้านล้านบาท หรือเป็นเงินงบประมาณแผ่นดินของประเทศไทย 700 ปี 
Antimatter

วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เครื่องวัดความชื้นไม้ Wood moisture tester


วัดความชื้นไม้ ต้นไม้ หนังสือ กระดาษ บรรจุภัณฑ์ กล่อง พื้น ไม้แกะสลัก 
วัสดุก่อสร้าง ฯลฯ

วัดความชื้นไม้ ต้นไม้ หนังสือ กระดาษ บรรจุภัณฑ์ กล่อง พื้น ไม้แกะสลัก 
วัสดุก่อสร้าง ฯลฯ
Specifications :
Range   :  0 to 99.9%
Measurement methods  DC resistance method
Probe Length  0.4 "(10mm)
Auto-off time  About 15 minutes
Normal operating ambient temperature range  32 to 104 ? F  (0 to 40 ? C )
Normal Operating humidity range  <85% 
Powered by  1 X 9V 6F22  battery 
Size  145 X 67 X 32mm (5.7 "x 2.6" x 1.3 ")
Weight  200g (7.0 oz)
Tree Chart  Packet  Species
A  :  Teak ,  walnut ,  white virgin ,  rubber trees ,  cork
B  :  Cloning ,  poplar ,  beech ,  cedar , 
C  :  Meranti ,  ash ,  elm ,  fir ,  maple ,  rosewood ,  oak ,  cherry
D  :  Linden wood ,  larch ,  birch







วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559

วิธีสำหรับการปฏิบัติการแก้ไขข้อบกพร่อง (CAR)

โดยทั่วไปปัญหา โลกแตกสำหรับองค์กรที่เพิ่งเริ่มต้นจัดทำระบบการจัดการไม่ว่าจะเป็น ระบบการจัดการด้านคุณภาพ (ISO 9001:2000) หรือระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม (ISO 14001:2004)  และ ระบบการจัดการด้านอื่นๆนั้นก็คือ การแก้ไขสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด(CAR) ไม่เป็นหรือไม่รู้จะแก้ไขอย่างไร?   หรือแก้ไขแล้วไม่ถูกต้องบ้าง หรือแก้ไขแล้วแก้ไขอีกไม่รู้จักจบ จักสิ้นสักที   ซึ่งจากปัญหาดังกล่าวเราจึงต้องมาทำความเข้าใจในกระบวนการปฏิบัติการแก้ไข ข้อบกพร่อง (CAR) กัน ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจในคำศัพท์ต่างๆที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
CAR ย่อมาจากคำว่า " Corrective Action Request " หมายถึง การร้องขอให้องค์กรการแก้ไขข้อบกพร่อง หรือความไม่สอดคล้อง หรือความไม่เป็นไปตามข้อกำหนดที่เกิดขึ้น(แล้วแต่จะเรียก)Corrective action ( การปฏิบัติการแก้ไข) ตามคำนิยามศัพท์ ของมาตรฐาน ISO 9000:2000 บัญญัติไว้ว่า "action to eliminate the cause of a detected nonconformity"   (3.15) หมายถึง การปฏิบัติการเพื่อขจัดสาเหตุของความบกพร่อง หรือความไม่สอดคล้องCorrective action ( การปฏิบัติการแก้ไข) ตามข้อกำหนดมาตรฐาน ISO 9001:2000 ข้อที่ 8.5.2 กำหนดไว้ว่า " องค์กรต้อง ทำปฏิบัติการปฏิบัติการแก้ไขเพื่อขจัดสาเหตุของความบกพร่อง เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำอีก การแก้ไข ต้อง เหมาะสมกับผลกระทบของความบกพร่องต่างๆที่ประสบอยู่"
จะเห็นได้ว่าจากความหมายดังกล่าว จะมุ่งเน้นให้การปฏิบัติการแก้ไข เพื่อที่ขจัดสาเหตุของความบกพร่อง และซึ่งป้องกันการเกิดซ้ำของความบกพร่องอีกครั้งด้วย ซึ่งในกระบวนการ " การปฏิบัติการแก้ไข" นั้น จำเป็นจะต้องประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอนต่อไปนี้
การวิเคราะห์หาสาเหตุของความบกพร่อง หรือความไม่เป็นไปตามข้อกำหนดการปฏิบัติการแก้ไขความบกพร่อง หรือความไม่เป็นไปตามข้อกำหนดการป้องกันความบกพร่อง หรือความไม่เป็นไปตามข้อกำหนดไม่ให้เกิดซ้ำอีก
ซึ่งจากขั้นตอนข้างต้น ตามความคิดของผู้เขียน คิดว่าขั้นตอนที่ 1 เป็นขั้นตอนที่ยากที่สุด เพราะถ้าองค์กรสามารถหาสาเหตุของความบกพร่องก็สามารถปฏิบัติการแก้ไขได้ หรือถ้าจะให้ดี หรือดีที่สุด คือการสามารถเข้าถึงหรือหาต้นตอ ( Root cause) ของความบกพร่องได้ก็จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดเพราะว่าจะสามารถแก้ไขความบกพร่องได้อย่างถาวร และตรงกับต้นตอของปัญหาที่แท้จริง เพราะฉะนั้นการปฏิบัติการแก้ไขจึงต้องเริ่มต้นในการค้นหาสาเหตุของความ บกพร่อง

ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์หาสาเหตุของความบกพร่อง

โดยส่วนใหญ่วิธีการค้นหาสาเหตุของความบกพร่องมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ซึ่งทางผู้เขียนขอยกตัวอย่างแนวทางในการค้นหาสาเหตุของความบกพร่องวิธีง่ายๆ มานำเสนอ คือวิธีการระบบสมอง ( Brain storm) หรือเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า " สุ่มหัว" เพื่อรวบรวมความคิดเห็นของ    ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง นำมาหาสาเหตุของความบกพร่อง และเพื่อเป็นการรวบรวมความคิดเห็นอย่างเป็นระบบก็สามารถนำกลวิธีทางสถิติ ง่ายๆ มาช่วยได้แก่ แผนภูมิก้างปลา (Fish Bone Diagram) หรือ แผนภูมิอิชิคาวา (Ishikawa Diagram)   หรือแผนภูมิเหตุและผล ( Cause and Effect diagram) แผนถูมิเดียวกันแล้วแต่จะเรียก โดยมีหลักการว่าเป็นแผนภูมิที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะทาง คุณภาพ ผล และเหตุ กล่าวคือ ผล หมายถึง ความบกพร่องที่เราจำเป็นต้องแก้ไข ส่วนเหตุนั้น หมายถึง องค์กรประกอบต่างๆที่มีอิทธิพลต่อผล และองค์ประกอบหรือสาเหตุหลักพื้นฐานโดยทั่วไป มักจะใช้ 4M ได้แก่
M1= Man ( คนหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง),
M2 = Machine ( เครื่องจักร อุปกรณ์),
M3 = Material ( วัตถุดิบ) และ
M4 = Method ( วิธีการ) เพื่อนำมาระบุสาเหตุของความบกพร่องและใช้ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์หาสาเหตุ ของความบกพร่องแบบ "Why Why analysis" คือ การตั้งคำถาม" ทำไม?" ถึงความบกพร่องเกิดขึ้น เพื่อหาสาเหตุของการเกิดเบื้องต้น และถามทำไมต่อไปอีกเรื่อยๆ เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง แต่จะต้องระวังว่า การตั้งคำถามว่า " ทำไม?" ขึ้นมาเพื่อหาหาสาเหตุของความบกพร่อง ไม่ใช่ตั้งคำถามมาเล่นๆหรือสนุกๆเพราะจะทำให้เสียเวลาและไม่ได้คำตอบ (สาเหตุของความบกพร่อง) ที่แท้จริง และนอกจากนั้นผู้ที่จะถามและตอบ โดยใช้หลักการนี้จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และเกี่ยวข้องกับความบกพร่องนั้น จริงๆ เพราะจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นจริง
ตัวอย่าง สมมุติว่า องค์กรมีข้อบกพร่อง ( CAR) เกี่ยวกับการไม่ได้ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ เช่น ไม่ได้ทำการตรวจสอบคุณภาพของสินค้าขั้นตอนสุดท้าย ตามที่กำหนดไว้ เป็นต้น
วิธีการปฏิบัติการแก้ไขความบกพร่อง( CAR) ก็จะเริ่มจากขั้นตอนที่ 1 คือ การหาสาเหตุของความบกพร่องตามหลักการที่กล่าวมาแล้วข้างต้น โดยการระดมความคิด กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความบกพร่อง ประมาณ 3-5 คนเพราะถ้ามากไปหรือถ้าน้อยไปกว่านี้ก็ไม่ดีเพราะจะเสียเวลาและรวบรวมความคิดยาก เช่น ผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ ( อาจจะเป็น QC, QA หรือ Inspector)  หัวหน้าผู้ตรวจสอบ, ผู้ที่การผลิต และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง จากนั้นก็มาประยุกต์ใช้แผนภูมิก้างปลาเพื่อระบุสาเหตุของความบกพร่อง
แนวทางในการตั้งคำถามตามองค์ประกอบต่างๆ ตัวอย่าง องค์ประกอบ M1 = Man คือกำลังจะค้นหาสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับคน เช่น
คำถามว่า " ทำไม? เจ้าหน้าที่ถึงไม่ได้ตรวจสอบ" คำตอบที่ได้ก็คือ ไม่รู้บ้าง, ลืมบ้าง, ตรวจไม่ทันบ้างหรืออื่นๆ
คำถามว่า " ทำไม? เจ้าหน้าที่ถึงไม่รู้" คำตอบที่ได้ก็คือ " ไม่ได้รับการฝึกอบรม" หรือ " อบรมแล้วแต่ไมเข้าใจ"
คำถามว่า " ทำไม? เจ้าหน้าที่ถึงไม่ได้รับการฝึกอบรม" คำตอบที่ได้ก็คือ " เป็นพนักงานใหม่" หรือ
" ไม่รู้ว่าจะต้องอบรม" หรือ " ไม่มีการกำหนดจำเป็นในการฝึกอบรม" หรืออื่นๆ เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าถ้าเราตั้งใจตั้งคำถามจากคำตอบที่ได้ว่าเรื่อยๆ เราก็จะได้คำตอบที่เป็นสาเหตุของความบกพร่องที่แท้จริงได้   แต่จากตัวอย่างข้างต้นนี้เป็นเพียงแค่ 1 ในองค์กรประกอบหลักเท่านั้น
ยังเหลืออีกหลายองค์ประกอบหลัก ที่เราจะต้องลองค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของความบกพร่อง ซึ่งใน 1 อาจจะมีหลายสาเหตุก็ได้ เพราะฉะนั้นการกำหนดแนวทางการในการแก้ไขความบกพร่องจึงจำเป็นจะต้องแก้ไขให้ ครบทุกสาเหตุของความบกพร่องที่เกิดขึ้นนั้นเอง

ขั้นตอนที่ 2 การปฏิบัติการแก้ไขความบกพร่อง

หลังจากที่เราทราบสาเหตุของความบกพร่องที่แท้จริงและครบถ้วนทุกสาเหตุของความบกพร่องแล้ว ก็เข้ามาสู่กระบวนการในการปฏิบัติการแก้ไขตามสาเหตุที่แท้จริง ที่ได้มาจากขั้นตอนที่ 1 ซึ่งโดยทั่วไปแล้วรูปแบบของสาเหตุของความบกพร่องก็มักจะคล้ายๆกันก็คือ
ไม่มีการกำหนดไว้บ้างมีการกำหนดไว้แต่ไม่ครบถ้วนหรือไม่เหมาะสมบ้างกำหนดไว้ครบถ้วนหรือเหมาะสมแต่ไม่ได้นำไปปฏิบัติบ้าง
ส่วนแนวทางในการปฏิบัติการแก้ไข
ถ้าไม่มีการกำหนดไว้   ก็ให้กำหนดไว้ครบถ้วนทั้งผู้รับผิดชอบ วิธีการ ระยะเวลา หรือสถานที่สำหรับการปฏิบัติและการทวนสอบ เป็นต้น
ถ้ามีการกำหนดไว้แต่ไม่ครบถ้วนหรือไม่เหมาะสม   ก็ให้ทำการทบทวนให้เหมาะสมและเพียงพอตรงกับสถานการณ์ ที่เป็นอยู่ ณ.ปัจจุบัน
ถ้ามีการกำหนดไว้ครบถ้วนหรือเหมาะสมแต่ไม่ได้นำไปปฏิบัติ โดยใช้หลัก 3 E
E ducation     คือการให้ความรู้ ความเข้าใจ ในความสำคัญและความจำเป็นในการนำไปปฏิบัติ E ngineering   คือการกำหนดกลไก หรือประยุกต์ใช้เครื่องจักร อุปกรณ์   จิ๊ก ฟิกเจอร์   เครื่องมือป้องกันความผิดพลาด ( Pokayoke )   ระบบเซ็นเซอร์ หรือระบบอินเตอร์ล็อคต่างๆเข้ามาช่วยเตือนให้ปฏิบัติ E nforcement คือการออกกฎข้อบังคับ หรือกฎระเบียบต่างๆ เพื่อให้เกิดความตระหนักในการปฏิบัติ (ซึ่งเป็นทางเลือกสุดท้าย ที่ไม่ควรเลือกใช้)

ขั้นตอนที่ 3 การป้องกันความบกพร่องไม่ให้เกิดซ้ำ

เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการปฏิบัติการแก้ไข
เพื่อความบกพร่องจะไม่ได้กลับมาเกิดซ้ำอีก โดยแบ่งออกเป็น 2 แนวทาง คือการขยายผล และการทวนสอบ
การขยายผล คือ การนำแนวทางในการปฏิบัติการแก้ไขขยายผลไปสู่พื้นที่ กระบวนการ กิจกรรม ผลิตภัณฑ์ ที่ใกล้เคียงกับความบกพร่องที่เกิดขึ้น เพื่อปัญหาจะไม่กลับมาเกิดขึ้นอีกการทวนสอบ คือ การกำหนดมาตรฐาน วิธีการ หรือระยะเวลามาติดตามความคืบหน้า ของการนำไปปฏิบัติให้ต่อเนื่อง หรือกำหนดเป็นมาตรฐานในการทำงานอย่างถาวร
จากขั้นตอนในการปฏิบัติการแก้ไขทั้ง 3 ขั้นตอน เป็นเพียงแค่ตัวอย่างแนวทางในการปฏิบัติการแก้ไขความบกพร่อง (CAR) เท่านั้น ส่วนการนำไปประยุกต์ใช้ขึ้นอยู่สถานการณ์ และความบกพร่องที่เกิดขึ้นซึ่งอาจจะไม่เหมือนกับสถานการณ์ที่สมมุติขึ้น